Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13044
Title: พฤติกรรมการรับฟัง ความพึงพอใจ และความต้องการที่มีต่อรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงตำรวจตระเวนชายแดน
Other Titles: Media exposure, satisfaction and needs of Audience Towards the Programs of the Border Patrol Police Radio Station
Authors: มนวิภา วงรุจิระ
นธี หงษ์ษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์
Keywords: พฤติกรรมการรับฟัง ความพึงพอใจ ความต้องการ สถานีวิทยุกระจายเสียงตำรวจตระเวนชายแดน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณี--นิเทศศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับฟังรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงตำรวจตระเวนชายแดน 2) ความพึงพอใจของผู้ฟังที่มีต่อสถานีวิทยุกระจายเสียงตำรวจตระเวนชายแดน และ  3) ความต้องการของผู้ฟังสถานีวิทยุกระจายเสียงตำรวจตระเวนชายแดนการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้รับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียงตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชัยภูมิ ยโสธร อุดรธานี แพร่ ตาก นครศรีธรรมราช สงขลา และกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า 1) การเปิดรับฟังรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงตำรวจตระเวนชายแดนส่วนใหญ่รับฟังผ่านทางเครื่องรับวิทยุ จากที่พักอาศัยของตนเอง ใช้เวลาในการเปิดรับฟังเฉลี่ยต่อครั้งน้อยกว่า 30 นาที ในช่วงเวลา 06.00 – 09.00 น. โดยเฉลี่ย 1-2 วัน ต่อสัปดาห์ ฟังรายการเฉพาะช่วงที่น่าสนใจ เพื่อแสวงหาความรู้ข่าวสาร โดยเฉพาะจากรายการนานาสาระกับ ตชด. และไม่เคยร่วมกิจกรรมกับสถานีฯ 2) ความพึงพอใจของผู้ฟังต่อสถานีฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือด้านเนื้อหารายการ รองลงมาคือด้านผู้ดำเนินรายการ และด้านประเภทรายการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยพึงพอใจน้อยที่สุด คือการมีส่วนร่วมในรายการ 3) ความต้องการของผู้ฟังรายการที่มีต่อสถานีฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านความชัดเจนของสัญญาณคลื่น รองลงมา คือด้านความต้องการด้านผู้ดำเนินรายการ และด้านประเภทรายการที่มีความต้องการ ส่วนค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านความต้องการการมีส่วนร่วมกับสถานีฯ ตามลำดับ และ ผู้ฟังยังได้มีข้อเสนอแนะให้สถานีฯปรับปรุงเครื่องส่งสัญญาณของสถานีฯให้สามารถส่งได้ไกล และพัฒนาคลื่นสัญญาณให้ชัดเจนมากกว่าเดิม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13044
Appears in Collections:Comm-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2651500528.pdf848.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.