Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13053
Title: | การสื่อสารแบรนด์ “กรกต” เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามนโยบายด้านเศรษฐกิจชุมชน |
Other Titles: | Communication of the “Korakot” Brand to Develop Community Products According to Community Economic Policies |
Authors: | สุภาภรณ์ ศรีดี ชฎายุกานต์ ไกรฤกษ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์ หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์ การสื่อสารทางการตลาด การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ชุมชน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการสร้างแบรนด์ “กรกต” เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามนโยบายด้านเศรษฐกิจชุมชน 2) เครื่องมือการสื่อสารแบรนด์ “กรกต” เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามนโยบายด้านเศรษฐกิจชุมชน และ 3) ข้อเสนอการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารแบรนด์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามนโยบายด้านเศรษฐกิจชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลัก 23 คน โดยเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีบทบาทสำคัญ ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ กลุ่มผู้ทำงานในส่วนนักออกแบบ/นักการตลาด จำนวน 4 คน (2) กลุ่มทีมปฏิบัติการ คนในชุมชนดั้งเดิมอำเภอบ้านแหลม จำนวน 10 คน (3) กลุ่มนักวิชาการด้านการสื่อสารแบรนด์ จำนวน 6 คน และ (4) กลุ่มผู้บริหารสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสร้างแบรนด์ “กรกต”ประกอบด้วย (1) การกำหนดเป้าหมายของแบรนด์ ต้องมีความตั้งใจในการประยุกต์ศิลป์ สร้างศิลปะให้จับต้องได้ เพื่อส่งเสริมอาชีพและนำเงินจากต่างชาติมาสู่ท้องถิ่น (2) การกำหนดตำแหน่งสินค้าของแบรนด์ เน้นการใช้วัสดุจากธรรมชาติท้องถิ่นประยุกต์เข้ากับงานศิลปะเพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบรนด์ (3) การสร้างความแตกต่างและมูลค่าเพิ่ม โดยให้ลูกค้าสามารถกำหนดโครงสร้างดีไซน์ได้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว (4) การสร้างเอกลักษณ์แบรนด์ โดยการใช้ชื่อกรกตเป็นตัวแทนของแบรนด์และรับผิดชอบงานทั้งหมด (5) การสร้างความเชื่อมั่นด้วยบริการหลังการขายครบทุกขั้นตอน และ (6) การทำประโยชน์ของแบรนด์ด้วยการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และการสร้างอาชีพและกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชน 2) เครื่องมือการสื่อสารแบรนด์ “กรกต” ประกอบด้วย (1) การสื่อสารองค์กร การสื่อสารภายใน ใช้การสื่อสารแบบเผชิญหน้าและสื่อสารผ่านไลน์กลุ่มขององค์กร ส่วนการสื่อสารภายนอก ใช้การสร้างการรับรู้ตัวตนของแบรนด์ผ่านสื่อมวลชน เว็บไซต์ และเฟซบุ๊กของนายกรกต อารมย์ดี นอกจากนี้ ยังใช้การสื่อสารผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐโดยรับเชิญเป็นวิทยากรให้กับโครงการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงวัฒนธรรม (2) การสื่อสารการตลาด ได้แก่ การส่งเสริมการขายควบคู่กับการตลาดทางตรง เน้นการแสดงสินค้าในต่างประเทศ ผ่านข้อความหลักสำคัญ คือ รีสอร์ท ทะเล และซัมเมอร์ที่สะท้อนแบรนด์ โดยวางแผนการจัดกิจกรรมเป็นรายปี และ (3) การสื่อสารเชิงโต้ตอบ เน้นการสื่อสารแบบเผชิญหน้าในงานจัดแสดงสินค้าในไทยและต่างประเทศ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ สามารถตรวจสอบแนวโน้มทางการตลาด และสร้างเครือข่ายพันธมิตรในอุตสาหกรรม อันเป็นสร้างการเติบโตของแบรนด์ในระยะยาวได้ 3) ข้อเสนอการเผยแพร่ความรู้ ประกอบด้วยข้อเสนอ คือ (1)กรมพัฒนาชุมชนร่วมกับผู้ประกอบการจัดทำคู่มือแผนธุรกิจเพื่อพัฒนาชุมชนก่อนการสร้างแบรนด์ (2) การสอดแทรกความรู้เรื่องการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ชุมชนในหลักสูตรของกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพาณิชย์ (3) กรมพัฒนาชุมชนสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยให้ความรู้ความเข้าใจเจาะลึกในเรื่องของธุรกิจสร้างแบรนด์ให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มอื่นให้เรียนรู้และพัฒนาแบรนด์ชุมชนร่วมกัน (4) กรมพัฒนาชุมชนจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เน้นการฝึกลงมือทำผ่านโครงการพัฒนาชุมชน โดยใช้วิทยากรทั้งที่มาจากชุมชนในกลุ่มผู้ประกอบการโอทอป กลุ่มห้าดาว และวิทยากรที่มีความชำนาญเชี่ยวชาญการออกแบบสอดคล้องกับกระบวนการการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ชุมชน |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13053 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
4631500404.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.