Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13056
Title: | การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | Communications to build public participation in community development by Tambon Administrative Organizations in Chiang Rai Province |
Authors: | วิทยาธร ท่อแก้ว ทนากร ศรีก๊อ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ กรกช ขันธบุญ จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์ |
Keywords: | การพัฒนาชุมชน--การมีส่วนร่วมของประชาชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์ องค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย--เชียงราย |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทและสภาพปัญหาการสื่อสาร เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงราย 2) รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงราย และ 3) แนวทางการใช้ประโยชน์จากการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงราย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้านการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 3 กลุ่ม รวมจำนวน 27 คน ได้แก่ (1) ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล 16 คน (2) ผู้นำชุมชน 8 คน และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการสื่อสารและพัฒนาชุมชน 3 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทและสภาพปัญหาการสื่อสาร ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ (1) บทบาทการสื่อสาร ในการให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ของประชาชน การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามแผนพัฒนาท้องถิ่น การประสานงานและมอบอำนาจการตัดสินใจให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเสมอภาค และการสร้างความตระหนัก ในคุณค่าของตนเอง การพัฒนาตนเอง และการพัฒนาท้องถิ่น (2) สภาพปัญหาการสื่อสารด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึงเนื่องจากชุมชนมีการกระจายตัว มีข้อจำกัดด้านช่วงระยะเวลาสั้นในการรับฟังความคิดเห็น บุคลากรที่ทำหน้าที่สื่อสารขาดความชำนาญผ่านสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ ผู้มีอำนาจตัดสินใจในการสื่อส่ารไม่ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจที่ชัดเจน และมีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบในการปฏิบัติการการสื่อสาร 2) รูปแบบการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ (1) การพัฒนานโยบายโดยใช้การสื่อสารแบบสองทางจากเบื้องล่างขึ้นสูงเบื้องบนและจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง (2) การกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีบทบาทในกิจกรรมหลักขององค์กร และ (3) ประชาชนได้ร่วมตรวจสอบและประเมินผลการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล และ 3) แนวทางการใช้ประโยชน์จากการสื่อสาร ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ (1) การนำไปใช้ในการวางแผนการออกแบบเนื้อหาสารและการนำเสนอเผยแพร่ (2) การนำไปกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน (3) การดำเนินการจัดเวทีสาธารณะในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างภาครัฐและประชาชน (4) การลงมือปฏิบัติในการสร้างเครือข่ายการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาชุมชน และ (5) การยกระดับการสร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน โดยการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กรให้เข้มแข็งทั้งรูปแบบการประชุม การใช้ช่องทางการสื่อสารทางออนไลน์ หรือการใช้เครื่องมือหรือแอปพลิเคชันสื่อสาร มุ่งสร้างสร้างความร่วมมือในทางปฏิบัติเพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนผ่านการจัดโครงการหรือกิจกรรม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมผ่าน กิจกรรมการศึกษา กิจกรรมสุขภาพ กิจกรรมบริการสาธารณะ กิจกรรมการพัฒนาชุมชนแบบจิตอาสา เพื่อร่วมขับเคลื่อนและผลักดันการทำงานเป็นไปตามเป้าหมายที่นำปัญหาและความต้องการของประชาชนในชุมชนมาเป็นฐานการพัฒนาท้องถิ่น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13056 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
4631500479.pdf | 987.57 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.