กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13086
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนเชิงสร้างสรรค์ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationship between innovative leadership of school administrators and creative teaching behaviors of teachers in schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุลชลี จงเจริญ ปรีญาภรณ์ โคตะมะ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี นวัตกรรมทางการศึกษา ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย--ระยอง ผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--ระยอง |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับพฤติกรรมการสอนเชิงสร้างสรรค์ของครู และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการการสอนเชิงสร้างสรรค์ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ประการศึกษา 2566 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใชตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน กลุ่มตัวอย่าง 328 คน จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการสอนเชิงสร้างสรรค์ของครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 และ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม การมีวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง การสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม การมีความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารความเสี่ยง 2) พฤติกรรมการสอนเชิงสร้างสรรค์ของครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเพื่อส่งเสริมการคิด การส่งเสริมอิสระทางความคิดของนักเรียน การจัดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และหลากหลาย และการกระตุ้นให้เกิดจินตนาการในการแก้ปัญหา และ 3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนเชิงสร้างสรรค์ของครูในสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13086 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2612300554.pdf | 2.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น