Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13090
Title: | Guidelines for Innovative Leadership Development of School Administrators in Phangnga Province under the Secondary Educational Service Area Office Phangnga Phuket Ranong แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดพังงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง |
Authors: | NADA CHAYCOWTONG นฎา ชายเขาทอง Annop Jeenawathana อรรณพ จีนะวัฒน์ Sukhothai Thammathirat Open University Annop Jeenawathana อรรณพ จีนะวัฒน์ [email protected] [email protected] |
Keywords: | แนวทางการพัฒนา ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม มัธยมศึกษา Guidelines for development Innovative leadership Secondary education |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this research were (1) to study the level of innovative leadership of school administrators in Phangnga province under the Secondary Educational Service Area Office Phangnga Phuket Ranong; and (2) to study guidelines for innovative leadership development of school administrators in Phangnga province. The research sample consisted of 210 teachers in schools in Phangnga province under the Secondary Educational Service Area Office Phangnga Phuket Ranong during the 2023 academic year, obtained by simple random sampling based on the proportion of teachers in each school. The sample size was determined based on Taro Yamane’s formula for sample size calculation. The interviewed key research informants were seven persons classified into the director of educational service area office, school administrators, and educational supervisors. The employed research tools were a questionnaire on innovative leadership of school administrator, with reliability coefficient of .95, and a semi-structured interview form concerning guidelines for innovative leadership development of school administrator. Quantitative data were statistically analyzed using the frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation; while qualitative data were analyzed with content analysis. The research findings revealed that (1) both the overall and specific aspects of innovative leadership of the school administrators were rated at the high level; the specific aspects of innovative leadership could be ranked from top to bottom based on their rating means as follows: the possession of transformational vision, the creative thinking, the use of information and communication technology, the creation of innovative organization atmosphere, the working as a team, and the participation, respectively; and (2) as for guidelines for innovative leadership development of the school administrators, it was found that (2.1) the Secondary Educational Service Area Office should allocate the budgets to the schools in order to support the creation of innovations; (2.2) the Secondary Educational Service Area Office should organize workshop training programs by inviting resource persons with expertise and should provide facilities and environment condition in order to enable the school administrators and teachers to create successful innovative work outcomes; and (2.3) the school administrators should always learn and follow the up-to-date information in order to develop new ideas and perspectives, they should encourage and support the teachers and educational personnel to develop their potential, and they should allow the opportunities for the teachers to create work outcomes that lead to the creation of learning innovations. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดพังงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาจังหวัดพังงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 210 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณตามสูตรของทาโร ยามาเน่ และสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนจำนวนประชากรในแต่ละโรงเรียน สำหรับผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ รวมจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ข้อมูลเชิงปริมาณทำการวิเคราะห์เชิงสถิติโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวม และรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง การคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม การทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วม ตามลำดับ และ (2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า (2.1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่โรงเรียน (2.2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญ และควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมเพื่อให้ผู้บริหารและครูได้สร้างสรรค์ผลงานด้านนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ และ (2.3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรเรียนรู้ ติดตามข่าวสารที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาแนวคิด มุมมองใหม่ ๆ อยู่เสมอ รวมทั้งควรส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรได้พัฒนาศักยภาพ และเปิดโอกาสให้ครูได้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13090 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2612301032.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.