กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13090
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดพังงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | guidelines for innovative leadership development of school administrators in Phangnga province under the secondary educational service area office Phangnga Phuket Ranong |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรรณพ จีนะวัฒน์ นฎา ชายเขาทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย--พังงา บุคลากรทางการศึกษา ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย-- ภูเก็ต ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย--ระนอง |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดพังงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาจังหวัดพังงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 210 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณตามสูตรของทาโร ยามาเน่ และสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนจำนวนประชากรในแต่ละโรงเรียน สำหรับผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ รวมจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ข้อมูลเชิงปริมาณทำการวิเคราะห์เชิงสถิติโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวม และรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง การคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม การทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วม ตามลำดับ และ (2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า (2.1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่โรงเรียน (2.2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญ และควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมเพื่อให้ผู้บริหารและครูได้สร้างสรรค์ผลงานด้านนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ และ (2.3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรเรียนรู้ ติดตามข่าวสารที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาแนวคิด มุมมองใหม่ ๆ อยู่เสมอ รวมทั้งควรส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรได้พัฒนาศักยภาพ และเปิดโอกาสให้ครูได้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ |
รายละเอียด: | การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13090 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2612301032.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น