กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13097
ชื่อเรื่อง: | The Effects of Using Model-based Instruction in the Topic of the Earth and Natural Resources to Develop Critical Thinking and Learning Achievements of Grade 8 Students at Danmakhamtia Wittayakhom School in Kanchanaburi Province ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง โลกและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนด่านมะขามเตี้ยวิทยาคม จังหวัดกาญจนบุรี |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | SUTHATIP Lamphao สุธาทิพย์ ลำเภา Tweesak Chindanurak ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ Sukhothai Thammathirat Open University Tweesak Chindanurak ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มัธยมศึกษา Model-based Learning Critical Thinking Learning Achievement Secondary Education |
วันที่เผยแพร่: | 23 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were to 1) compare critical thinking between before learning and after learning by using model-based instruction of grade 8 students in the topic of the earth and natural resources, 2) compare learning achievement in the topic of the earth and natural resources of grade 8 students after learning by using model-based instruction with the 70 percent criterion, and 3) study the relationship between critical thinking and learning achievement of grade 8 students in the topic of the earth and natural resources after learning by using model-based instruction. The sample used in this research was 39 grade 8 students in the second semester of the academic year 2023 of Danmakhamtiawitthayakhom school in Kanchanaburi province, obtained by cluster random sampling. The research tools were 8 lesson plans using model-based instruction in the topic of earth and natural resources for 24 hours, a critical thinking test, and a science learning achievement test. Statistics used for data analysis included percentage, mean, standard deviation, t-test and Pearson Correlation. The results of the research found that 1) the critical thinking ability of grade 8 students after learning by using model-based instruction was significantly higher than before learning at the .05 level of statistical significance. 2) Science learning achievement of grade 8 students after learning by using model-based instruction was higher than the 70 percent criterion at the .05 level of statistical significance, and 3) critical thinking ability and learning achievement of grade 8 students after learning by using model-based instruction correlated positively at the moderate level and significantly at the .05 level of statistical significance. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณระหว่างก่อนและ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง โลกและทรัพยากรธรรมชาติ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โลกและทรัพยากรธรรมชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง โลกและทรัพยากรธรรมชาติ หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนด่านมะขามเตี้ยวิทยาคม จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 39 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง โลกและทรัพยากรธรรมชาติ จำนวน 8 แผน รวม 24 ชั่วโมง แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าสหสัมพันธ์ของ เพียร์สันผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลอง เป็นฐานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลอง เป็นฐาน มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13097 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2622000178.pdf | 3.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น