Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13098
Title: The Effects of using the Inquiry-Based Learning Management Together with STAD on Science Learning Achievement on the Topic of Systems of Human and Analytical Thinking Ability of Grade 8 Students at Pranarai School in Lobburi Province
ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระนารายณ์  จังหวัดลพบุรี
Authors: PIYADA BUNPRADIT
ปิยะดา บุญประดิษฐ์
Duongdearn Suwanjinda
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
Sukhothai Thammathirat Open University
Duongdearn Suwanjinda
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
[email protected]
[email protected]
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์  มัธยมศึกษา
Inquiry-based learning management
STAD technique
Science learning achievement
Analytical thinking ability
Secondary education
Issue Date:  15
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The purposes of this research were to 1) compare the science learning achievement on the topic of systems of human of grade 8 students at Pranarai school in Lobburi province learning through the 5Es inquiry-based learning management together with STAD with that of students learning through the traditional learning management; and 2) compare the analytical thinking ability of grade 8 students at Pranarai school in Lobburi province learning through the 5Es  inquiry-based learning management together with STAD with that of students learning through the traditional learning management. The research sample consisted of 79 Grade 8 students at Pranarai school in Lobburi province who studied in the 2021 academic year, obtained by cluster random sampling. Then, one classroom was randomly assigned as the experimental group, and the other as the control group, with 40 and 39 students in each group, respectively. The research instruments were 1) lesson plans based on 5Es inquiry-based learning management together with STAD and traditional learning management plans in the topic of systems of human, 2) a science learning achievement test in the topic of systems of human, consisting of 30 multiple-choice questions with four answer options, and 3) an analytical thinking ability test, consisting of 30 multiple-choice questions with four answer options. The statistics used for data analysis were the mean, standard deviation and t-test.The research findings showed that (1) the science learning achievement of the grade 8 students learning through the 5Es inquiry-based learning management together with STAD was significantly higher than that of the students learning through the traditional learning management at .05 level of significance, and 2) the analytical thinking ability of the grade 8 students learning through the 5Es inquiry-based learning management together with STAD was significantly higher than that of the students learning through the traditional learning management at .05 level of significance.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และนักเรียนที่เรียนแบบปกติ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และนักเรียนที่เรียนแบบปกติ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 79 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม แล้วจับฉลากให้ 1 ห้องเป็นกลุ่มทดลอง และอีก 1 ห้องเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 และ 39 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า (1) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) คะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13098
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2622000277.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.