กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13101
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหาที่มีต่อกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship Between Critical Thinking, Creative Thinking and Problem-Solving Thinking in Relation to the Engineering Design Process of Lower Secondary Education Students at Wat Srinualthammawimol School in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์
ชุลี สัมพดา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
คำสำคัญ: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย
การออกแบบวิศวกรรม
ความคิดสร้างสรรค์
การแก้ปัญหา
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหากับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม และ  2) สร้างสมการพยากรณ์กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล กรุงเทพมหานคร ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบทดสอบ 4 ฉบับ 1) แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณ 2) แบบทดสอบการคิดสร้างสรรค์  3) แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหา และ 4) แบบทดสอบกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สหสัมพันธ์พหุคูณ และการสร้างสมการถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์กับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยการคิดวิจารณญาณมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน มากที่สุด เท่ากับ .965 และ 2) การศึกษาตัวพยากรณ์ พบว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Z1)  การคิดสร้างสรรค์(Z2) และการคิดแก้ปัญหา (Z3) สามารถพยากรณ์กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Z’)  ได้ ซึ่งสามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้Z’ = .639 (Z1) + .127 (Z2) + .254 (Z3)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13101
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2622000657.pdf2.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น