กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13108
ชื่อเรื่อง: ผลการสอนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of Using Cooperative Learning with CIRC Technique on Reading Comprehension Ability of Grade 9 Students in The Secondary Educational Service Area Office Chonburi Rayong
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิตา เยี่ยมขันติถาวร
อัจฉรา ปิ่นมั่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน
อารีรักษ์ มีแจ้ง
คำสำคัญ: การสอนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC  ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ความพึงพอใจ มัธยมศึกษา
ภาษาอังกฤษ--การอ่าน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC และการสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนและ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชลบุรี “สุขบท”  จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 ห้อง โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 40 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC จำนวน 8 แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จำนวน 20 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการสอนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการสอนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC อยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13108
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2622101612.pdf2.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น