กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13110
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for developing entrepreneurial leadership of private school administrators in Ubon Ratchathani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์ ปิยะพร ชัยศักดิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ภาวะผู้นำทางการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--อุบลราชธานี การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรม การส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 326 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเคร็จซี่และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มตามสหวิทยาเขต และการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี มีความเที่ยงเท่ากับ .924 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการมีความมั่นใจในตนเอง ด้านการสร้างนวัตกรรม ด้านการทำงานเชิงรุก ด้านการเผชิญความเสี่ยง ด้านการมีวิสัยทัศน์ และด้านการคิดแบบสร้างสรรค์ และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ (1) ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการจัดกิจกรรมและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และควรมีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ และวางแผนงานเพื่อเผชิญความเสี่ยง (2) ผู้บริหารโรงเรียนควรส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้ครูในโรงเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และ (3) ผู้บริหารโรงเรียนควรส่งเสริม สนับสนุนให้ครูในโรงเรียนเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจ รวมทั้งสามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมและสร้างสิ่งใหม่ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13110 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2622300081.pdf | 2.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น