กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13114
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กับทักษะดิจิทัลของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between innovation leadership of school administrators and digital skills of teachers under the Secondary Educational Service Area Office Loei Nong Bua Lam Phu
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชูชาติ พ่วงสมจิตร์
มณีอมรินทร์ พีรพิชญกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ทักษะดิจิทัล มัธยมศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย--หนองบัวลำภู
ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้บริหาร
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ทักษะดิจิทัลของข้าราชการครู และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับทักษะดิจิทัลของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำนวน 321 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาและทักษะดิจิทัลของข้าราชการครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และ 0.95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การจูงใจและสร้างแรงบันดาลใจ การทำงานเป็นทีม การมีวิสัยทัศน์นวัตกรรม การบริหารความเสี่ยง การมีความคิดสร้างสรรค์ การสร้างบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม และการมีกลยุทธ์นวัตกรรม (2) ทักษะดิจิทัลของข้าราชการครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความปลอดภัยทางดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน การรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล และการสร้างสรรค์สื่อและเนื้อหาทางดิจิทัล และ (3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทักษะดิจิทัลของข้าราชการครู ในภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .669
รายละเอียด: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13114
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2622300529.pdf2.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น