Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13115
Title: แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตามบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลียของโรงเรียน ณ ดรุณ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Guidelines for development of the operation by the role of teachers according to the Reggio Emilia Approach in Na Daroon School, Bangkok Metropolis
Authors: กุลชลี จงเจริญ
จรรยา เบลลอน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเรียนรู้แบบผสมผสาน
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติตามบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการปฏิบัติตามบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย และ 3) แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตามบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย ของโรงเรียน ณ ดรุณ กรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในโรงเรียน ณ ดรุณ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 45 คน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีลักษณะเป็นแบบตอบสนองคู่เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติตามบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 และ .94 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตามบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพปัจจุบันของการปฏิบัติตามบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติตามบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการปฏิบัติตามบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ เรียงลำดับค่าดัชนีความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การเป็นผู้สังเกตการณ์ การเป็นผู้บันทึกข้อมูลและเก็บเอกสาร การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม การเป็นผู้ประสานงาน การเป็นผู้ศึกษาค้นคว้า การเป็นผู้ฟัง การเป็นผู้อำนวยความสะดวก และการเป็นผู้ร่วมเรียนรู้ ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตามบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ พบว่า (1) สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมการวางแผนการสังเกตการณ์ร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาและครู และผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นแบบอย่างของผู้สังเกตการณ์ที่ดีให้กับครู (2) สถานศึกษาควรมีการนิเทศการจัดการเรียนรู้และจัดหาพี่เลี้ยงให้กับครู รวมทั้งจัดสรรเวลาให้ครูได้มีเวลาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน (3) สถานศึกษาควรจัดสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน รวมทั้งสร้างเครือข่ายให้ครูได้แลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน และ (4) ด้านการเป็นผู้ประสานงาน พบว่า สถานศึกษาควรพัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสารเพื่อการประสานงานและสร้างเครือข่ายความรู้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13115
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2622300743.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.