Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13116
Title: Conditions on Educational Supervision Operations of Schools under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1
สภาพการดำเนินการนิเทศการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
Authors: CHANIKARN BUASRI
ชนิกานต์ บัวศรี
Thitikorn Yawichai Charueksil
ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์
Sukhothai Thammathirat Open University
Thitikorn Yawichai Charueksil
ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์
[email protected]
[email protected]
Keywords: การดำเนินการนิเทศการศึกษา  สถานศึกษา  มัธยมศึกษา
Educational supervision operation
School
Secondary education
Issue Date:  18
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: 5.1.4 การประเมินผล หมายถึง การที่ผู้นิเทศการศึกษาและครูผู้รับการนิเทศร่วมกันสะท้อนกระบวนการนิเทศผ่านการประชุมหลังการสังเกตการสอนเพื่อสะท้อนผลการใช้แผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงพัฒนาแผนการนิเทศการเรียนการสอนตามวงจรการนิเทศในวงรอบต่อไป
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินการนิเทศการศึกษาของสถานศึกษา และ 2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินการนิเทศการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา                กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยใช้ตารางของเครจซีและมอร์แกน จำนวน 357 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับสภาพการดำเนินการนิเทศการศึกษาของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว                ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพการดำเนินการนิเทศการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การประเมินผลการนิเทศ การวางแผนการนิเทศ การนำแผนการนิเทศไปใช้  และการหาความต้องการจำเป็นในการนิเทศ และ 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพโดยรวมของการดำเนินงานนิเทศการศึกษาของสถานศึกษาที่จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ระหว่างสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยสถานศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่มีสภาพการดำเนินงานนิเทศการศึกษาที่สูงกว่าสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษอย่างมีนัยสำคัญ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13116
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2622300784.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.