กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13127
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศศิกานต์วิทยา จังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Using STAD Cooperative Learning Technique in the Topic of Ecosystem and Biodiversity on Learning Achievement and Attitudes Toward Science of Grade 9 Students in Sasikarnwittaya School in Udon Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงเดือน สุวรรณจินดา
อภิญญา พิมพาแสง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา--วิทยานิพนธ์
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม--ไทย--อุดรธานี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--ไทย--อุดรธานี
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศศิกานต์วิทยา จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จาก 1 ห้องเรียน จำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ และ 3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฎว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 3) เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนอยู่ในระดับดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13127
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2632000424.pdf7.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น