กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13166
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for development of learning organization of schools in Chonburi 1 School Consortium under the Secondary Educational Service Area Office Chonburi Rayong
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนพันธ์ ชาญศิลป์
ชิตชัย ชุมวรฐายี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเรียนรู้องค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนสหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำนวน 285 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน  มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเป็นบุคคลรอบรู้ ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม และด้านการมีแบบแผนความคิด และ 2) แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ควรดำเนินการดังนี้ (1) ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ควรจัดทำโครงสร้างงานและหน้าที่ความรับผิดชอบที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของงานแต่ละฝ่าย สื่อสารถึงเป้าหมายและทิศทางของโรงเรียน และจัดการหมุนเวียนเปลี่ยนงานเพื่อให้ครูได้เรียนรู้งานข้ามฝ่ายงาน (2) ด้านการเป็นบุคคลรอบรู้ ควรกำหนดทักษะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงาน จัดอบรมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ให้ครูได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติงานจริง และส่งเสริมให้ครูหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง (3) ด้านการมีแบบแผนความคิด ควรส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ครูได้เข้าถึงแหล่งความรู้ต่าง ๆ และส่งเสริมการเรียนรู้ของครูผ่านกิจกรรมต่างๆ (4) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ควรจัดการประชุมเพื่อระดมความคิด สร้างกลุ่มทำงานเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของทุกคน และสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดขึ้น และ (5) ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ควรสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้าง สร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยสำหรับการแสดงความคิดเห็น และกระตุ้นให้เกิดการอภิปราย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13166
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2632301582.pdf2.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น