Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13172
Title: | ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง ไฟฟ้ากระแส ที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และทักษะ การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | Effects of Argument-Driven Inquiry in the Topic of Current Electricity on Creating Scientific Explanation and Scientific Argumentation Skills for Grade 11 Students at Small Sized Secondary Schools in Surat Thani Province |
Authors: | ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ ประภัสสร โยมา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ |
Keywords: | การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--สุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา--วิทยานิพนธ์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง (2) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวกับเกณฑ์ (3) เปรียบเทียบทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว และ (4) เปรียบเทียบทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวกับเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน 12 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง ไฟฟ้ากระแส (2) แบบวัดความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ และ (3) แบบวัดทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบวิลคอกซัน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับดี (3) นักเรียนมีทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) นักเรียนมีทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13172 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2642000232.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.