กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13178
ชื่อเรื่อง: | การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Synthesis of research on Thai language instructional of the faculty of education at Chulalongkorn University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์ พีรายุ ปิดทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี การเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 2) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประชากร คือ วิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย ที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2545 – 2564 จำนวน 102 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า 1) คุณลักษณะวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย ที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย มีจำนวนงานวิจัยพิมพ์เผยแพร่มากที่สุด คือ พ.ศ. 2559 มากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นงานวิทยานิพนธ์ มีการตั้งสมมติฐานการวิจัยแบบทางเดียวมากที่สุด แบบแผนการวิจัยแบบศึกษาสองกลุ่ม วัดก่อน-หลังการทดลองมากที่สุด ส่วนใหญ่ใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ใช้การเลือกแบบเจาะจงมากที่สุด ส่วนใหญ่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษา เนื้อหาตามขอบข่ายของงานวิจัยแยกตามสาระการเรียนรู้มากที่สุด คือกลุ่มสาระเดี่ยว แนวการสอนแยกตามสาขาวิชา ได้แก่ สาขาการสอนภาษาไทย ส่วนใหญ่ คือวิธีบูรณาการ สาขาหลักสูตรและการสอน ส่วนใหญ่คือวิธีบูรณาการ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ส่วนใหญ่ คือวิธีบูรณาการ สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา ส่วนใหญ่คือการใช้สื่อ สาขาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา ใช้วิธีบูรณาการ และการใช้สื่อเท่ากัน สาขาการศึกษาปฐมวัย ส่วนใหญ่ คือวิธีบูรณาการ และสาขาประถมศึกษา ส่วนใหญ่ คือวิธีบูรณาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบทดสอบมากที่สุด ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยการหาความตรงเชิงเนื้อหามากที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากที่สุด และ 2) ผลการสังเคราะห์เชิงคุณภาพของงานวิจัย พบว่า การสอนทักษะการอ่านที่มีการวิจัยมากที่สุด คือ การอ่านในใจ ใช้วิธีการสอน แบบการบูรณาการมากที่สุด การสอนทักษะการเขียนที่มีการวิจัยมากที่สุด คือ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ ใช้วิธีการสอนแบบการ บูรณาการมากที่สุด การสอนทักษะการพูดมีการวิจัยมากที่สุด คือ การพูดสื่อสาร ใช้วิธีการสอนแบบการบูรณาการมากที่สุด การสอนหลักการใช้ภาษามีการวิจัยมากที่สุด คือ การสอนเพื่อพัฒนาหลักการใช้ภาษา ใช้วิธีการสอนแบบแผนภาพความคิด มากที่สุด และการสอนวรรณคดีและวรรณกรรม โดยวิธีบูรณาการ เป็นวิธีที่มีผู้วิจัยเลือกนำไปใช้มากที่สุด และการจัดการเรียน การสอนด้วยวิธีการใช้สื่อ ใช้สื่อประเภทอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด |
รายละเอียด: | การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13178 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2642100131.pdf | 914.13 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น