กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13208
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตสตาร์บุษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | guidelines for development the student help-care system using digital technology of schools in starbush consortium under the secondary educational service area office Chanthaburi Trat |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์ รัชติกร รามัญกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษากับเทคโนโลยี การให้คำปรึกษา พฤติกรรมการช่วยเหลือ การแนะแนว |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตสตาร์บุษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราดประชากร คือ ครูที่ปรึกษาในสหวิทยาเขตสตาร์บุษ จำนวน 184 คน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และ .98 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI modified) และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพปัจจุบันการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีดังนี้ (3.1) ในภาพรวม ควรจัดอบรมและสนับสนุนให้ครูเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้ครูมีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ควรสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการประสานงานและสร้างเครือข่ายความร่วมมือออนไลน์ระหว่างนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้บริหาร (3.2) ในรายข้อที่มีความต้องการจำเป็น 3 ลำดับแรก ควรส่งเสริมให้ครูใช้แอปพลิเคชันใหม่ ๆ ในการพัฒนาความสามารถพิเศษและค้นหาศักยภาพแห่งตน ควรกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการคัดกรองนักเรียนและนำแอปพลิเคชันมาใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลของนักเรียนในระบบออนไลน์ และควรมีบริการให้คำปรึกษาและจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรูปแบบออนไลน์ |
รายละเอียด: | การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13208 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2642300897.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น