Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13209
Title: ปัจจัยการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ  สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: Decision factors for further study in dual vocational education level of students in industrial and community education college under the Office of Vocational Education Commission, Udon Thani Province
Authors: สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์
รณชัย ประทุมเขตต์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาทางวิชาชีพ
การศึกษาต่อเนื่อง
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามเพศ ประเภทวิชา อาชีพหลักของผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน และระดับการศึกษาของผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี จำนวน 331 คน ได้จากการเปิดตารางของเครจซีและมอร์แกน และสุ่มแบบชั้นภูมิตามประเภทวิชา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปัจจัยการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ปัจจัยด้านสถานศึกษา ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านนักศึกษา และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยจำแนกตามเพศพบว่า เพศหญิงแตกต่างกับเพศชาย  จำแนกตามประเภทวิชา พบว่า ช่างยนต์แตกต่างกับช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างก่อสร้าง-โยธา ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมโลหะ การบัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำแนกตามอาชีพหลักของผู้ปกครอง พบว่า อาชีพเกษตรกรรมแตกต่างกับค้าขาย รับราชการ พนักงานรัฐวิสากหิจ และพนักงาน/รับจ้าง  จำแนกตามรายได้ของครอบคร้วเฉลี่ยต่อเดือนพบว่ารายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท  แตกต่างกับรายได้ 10,001-20,000 บาท, 20,001-30,000 บาท และ 30,001-40,000 บาท จำแนกตามระดับการศึกษาของผู้ปกครองพบว่า การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีแตกต่างกับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี
Description: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13209
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2642300921.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.