กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13209
ชื่อเรื่อง: Decision Factors for Further Study in Dual Vocational Education Level of Students in Industrial and Community Education College under the Office of Vocational Education Commission, Udon Thani Province
ปัจจัยการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ  สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: RONNACHAI PRATHUMKET
รณชัย ประทุมเขตต์
Suttiwan Tuntirojanawong
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์
Sukhothai Thammathirat Open University
Suttiwan Tuntirojanawong
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: ปัจจัย  การตัดสินใจศึกษาต่อ ระบบทวิภาคี  อาชีวศึกษา
Factor
Decision to further study
Dual system
Vocational education
วันที่เผยแพร่:  4
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this research were 1) to study the decision factors for further study in dual vocational education level of students in Industrial and Community Education College; and 2) to compare the decision factors for further study in dual vocational education level of students in Industrial and Community Education College under the Office of Vocational Education Commission, Udon Thani Province, as classified by gender, subject type, and parents' main occupation, average monthly family income, and educational level of parents. The research sample consisted of 331 students under the Office of Vocational Education Commission, Udon Thani Province, obtained by tables of Krejcie and Morgan and stratified random sampling based on subject type. The employed research instrument was a questionnaire on the decision factors for further study in dual vocational education level of students in Industrial and Community Education College, with reliability coefficients of .97. Statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, and paired testing using Scheffe' Method.The research findings indicated that: 1) the overall and each aspect of the decision factors for further study in dual vocational education level of students in Industrial and Community Education College were rated at the high level, and the specific aspects could be ranked based on their rating means from the highest to the lowest as follows: educational institution factors; family factors; and student factors; and 2) regarding the comparison of decision factors for further study in dual vocational education level of students in Industrial and Community Education College, the differences were significant at the .05 level, classified by gender, it was found that female was different from male, classified by subject type, it was found that automotive mechanics was different from electricians, electronics technicians, construction-civil technicians, factory mechanics, welding technicians, accounting, business computers, classified by the parent's main occupation, it was found that agricultural careers was different from trading, government service, state enterprise employees and employees/hires, classified by average monthly family income, it was found that income less than 10,000 baht was different from 10,001-20,000 baht, 20,001-30,000 baht, and 30,001-40,000 baht, classified by parental education level, it was found that education less than a bachelor's degree was different from a bachelor's degree and above a bachelor's degree.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามเพศ ประเภทวิชา อาชีพหลักของผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน และระดับการศึกษาของผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี จำนวน 331 คน ได้จากการเปิดตารางของเครจซีและมอร์แกน และสุ่มแบบชั้นภูมิตามประเภทวิชา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปัจจัยการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ปัจจัยด้านสถานศึกษา ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านนักศึกษา และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยจำแนกตามเพศพบว่า เพศหญิงแตกต่างกับเพศชาย  จำแนกตามประเภทวิชา พบว่า ช่างยนต์แตกต่างกับช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างก่อสร้าง-โยธา ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมโลหะ การบัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำแนกตามอาชีพหลักของผู้ปกครอง พบว่า อาชีพเกษตรกรรมแตกต่างกับค้าขาย รับราชการ พนักงานรัฐวิสากหิจ และพนักงาน/รับจ้าง  จำแนกตามรายได้ของครอบคร้วเฉลี่ยต่อเดือนพบว่ารายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท  แตกต่างกับรายได้ 10,001-20,000 บาท, 20,001-30,000 บาท และ 30,001-40,000 บาท จำแนกตามระดับการศึกษาของผู้ปกครองพบว่า การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีแตกต่างกับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13209
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2642300921.pdf3.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น