Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13212
Title: | Guidelines for Enhancing of Innovative Organization of Schools under the Secondary Educational Service Area Office Ubon Ratchathani Amnat Charoen แนวทางการเสริมสร้างการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ |
Authors: | PORNTHIP OATTHIVECH พรทิพย์ โอษฐิเวช Sopana Sudsomboon โสภนา สุดสมบูรณ์ Sukhothai Thammathirat Open University Sopana Sudsomboon โสภนา สุดสมบูรณ์ [email protected] [email protected] |
Keywords: | แนวทางการเสริมสร้าง องค์กรนวัตกรรม มัธยมศึกษา Guidelines for enhancing Innovative organization Secondary education |
Issue Date: | 7 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The purposes of this research were to study: 1) the current state of being an innovative organization of schools; 2) the desired state of being an innovative organization of schools; 3) the needs for enhancing schools to become innovative organizations; and 4) guidelines for enhancing schools to become innovative organizations under the Secondary Educational Service Area Office Ubon Ratchathani Amnat Charoen. The sample consists of 335 school administrator and teachers in pioneering educational innovation schools under the Secondary Educational Service Area Office Ubon Ratchathani Amnat Charoen during the 2023 academic year, obtained by stratified random sampling based on school size. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan’s Sample Size Table. The key informants were six experts. The employed research instrument was a dual-response questionnaire using a 5-point Likert scale on the current and desired states of being an innovative organization, with reliability coefficients of .96 and .97, respectively, and a semi-structured interview on guidelines for enhancing schools to become innovative organizations. The data were analyzed using the frequency, percentage, mean, standard deviation, PNImodified, and content analysis. The research findings revealed that: 1) the overall current state of being an innovative organization of schools was rated at the high level; 2) the overall desired state of being an innovative organization of schools was rated at the highest level; 3) the three needs for enhancing schools to become innovative organizations were as follows: the innovative leadership of school administrators, an innovative culture and atmosphere, and an innovative vision and strategies; and 4) the guidelines for enhancing schools to become innovative organizations were as follows: (1) school administrators should develop their problem-solving skills, become lifelong learners, stay aware of changes, and apply new methods in school administration; (2) schools should encourage personnel to participate in creating new ideas, promote innovation-related communication, provide positive reinforcement, and create learning spaces; (3) schools should have an innovative vision, develop plans, projects, and activities that involve the participation of staff; and (4) schools should apply the principles of good governance in management and establish a clear communication structures. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา 3) ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา และ 4) แนวทางการเสริมสร้างการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาที่เป็นสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 335 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษาและสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 6 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา โดยมีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบตอบสนองคู่ เป็นแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 และ .97 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการเสริมสร้างการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา 3 ลำดับแรก ได้แก่ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร วัฒนธรรมและบรรยากาศเชิงนวัตกรรม และวิสัยทัศน์และกลยุทธ์เชิงนวัตกรรม และ 4) แนวทางการเสริมสร้างการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา ดังนี้ (1) ผู้บริหารควรพัฒนาตนเองให้มีทักษะการแก้ปัญหา เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และนำวิธีการใหม่ๆมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา (2) สถานศึกษาควรส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มีการสื่อสารด้านนวัตกรรม มีการเสริมแรงเชิงบวก และมีพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ (3) สถานศึกษาควรมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม จัดทำแผน โครงการ และกิจกรรมที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากร และ (4) สถานศึกษาควรนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานและกำหนดโครงสร้างการสื่อสารที่ชัดเจน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13212 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2642301176.pdf | 2.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.