กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13212
ชื่อเรื่อง: แนวทางการเสริมสร้างการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for enhancing of innovative organization of schools under the Secondary Educational Service Area Office Ubon Ratchathani Amnat Charoen
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสภนา สุดสมบูรณ์
พรทิพย์ โอษฐิเวช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
นวัตกรรมทางการศึกษา--ไทย--อุบลราชธานี
นวัตกรรมทางการศึกษา--ไทย--อำนาจเจริญ
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา 3) ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา และ 4) แนวทางการเสริมสร้างการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาที่เป็นสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 335 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษาและสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 6 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา โดยมีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบตอบสนองคู่ เป็นแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 และ .97 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการเสริมสร้างการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา 3 ลำดับแรก  ได้แก่ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร  วัฒนธรรมและบรรยากาศเชิงนวัตกรรม และวิสัยทัศน์และกลยุทธ์เชิงนวัตกรรม และ 4) แนวทางการเสริมสร้างการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา ดังนี้  (1) ผู้บริหารควรพัฒนาตนเองให้มีทักษะการแก้ปัญหา เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และนำวิธีการใหม่ๆมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา  (2) สถานศึกษาควรส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มีการสื่อสารด้านนวัตกรรม มีการเสริมแรงเชิงบวก และมีพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ (3) สถานศึกษาควรมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม จัดทำแผน โครงการ และกิจกรรมที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากร  และ (4) สถานศึกษาควรนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานและกำหนดโครงสร้างการสื่อสารที่ชัดเจน
รายละเอียด: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13212
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2642301176.pdf2.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น