กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13216
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดมุกดาหาร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationship between technological leadership of school administrations and teaching effectiveness of teachers in schools under the Office of the Private Education Commission in Mukdahan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ วลัยภรณ์ จันทรสาขา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ภาวะผู้นำทางการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน 2) ศึกษาประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครู และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดมุกดาหารกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 140 คน ได้จากการเปิดตารางของเครจซีและมอร์แกน และสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือการวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ.98 และประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูมีค่าความเที่ยงเท่ากับ.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ การมีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี การสนับสนุนเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยี การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร และการมีความรู้ทางกฎหมาย จริยธรรมทางเทคโนโลยี 2) ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครู ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ การออกแบบการเรียนการสอน การกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม และการวัด และประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดมุกดาหาร มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13216 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2642301374.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น