Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13230
Title: บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1
Other Titles: Roles of school administrators in developing student quality in promoting physical activities in schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 1
Authors: สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์
ถิรวิทย์ ชีช้าง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริหารโรงเรียน
การพัฒนาการศึกษา
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้ปฏิบัติงานฝ่ายกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จำนวน 123 คน โดยสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ การพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมทางกาย การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมทางกาย การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชั้นเรียน และการกำหนดนโยบายส่งเสริมการเคลื่อนไหวในสถานศึกษา 2) การเปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาขนาดเล็กมีความแตกต่างจากสถานศึกษาขนาดกลาง และขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านการกำหนดนโยบายส่งเสริมการเคลื่อนไหวในสถานศึกษา การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมทางกาย การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชั้นเรียน และ 3) แนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผู้บริหารสถานศึกษาควรสื่อสารกับผู้เรียน ผู้ปกครองให้เห็นถึงประโยชน์ของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายทั้งภายในและภายนอกชั้นเรียน พัฒนาพื้นที่การมีกิจกรรมทางกายให้ผู้เรียนเข้าถึงอย่างปลอดภัย กำกับติดตามกิจกรรมการส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางกายอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เสริมสร้างเครือข่ายในการส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางกายของสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Description: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13230
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2652300241.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.