กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13234
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการงานอนามัยสิ่งแวดล้อมตามกรอบการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for development of environmental health management according to the health promotion school operation framework in Schools under Phatthalung Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสภนา สุดสมบูรณ์
ปรเมศวร์ สุพรรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
นักเรียนประถมศึกษา--สุขภาพและอนามัย
อนามัยโรงเรียน--ไทย--พัทลุง
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารจัดการงานอนามัยสิ่งแวดล้อมตามกรอบการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการงานอนามัยสิ่งแวดล้อมตามกรอบการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 285 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่หลังจากนั้นทำการสุ่มแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษาแล้วสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการงานอนามัยสิ่งแวดล้อมตามกรอบการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษา ค่าความเที่ยงเท่ากับ .78 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการงานอนามัยสิ่งแวดล้อมตามกรอบการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการงานอนามัยสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาตามกรอบการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ การบริการอนามัยโรงเรียน การกำหนดนโยบายของโรงเรียน  การโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย  การจัดสิ่งแวดลอมในโรงเรียนที่เอื้อตอสุขภาพ การบริหารจัดการในโรงเรียน การใหคำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม การสุขศึกษาในโรงเรียน การร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน การสงเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียนและการออกกําลังกาย กีฬา และนันทนาการ และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการงานอนามัยสิ่งแวดล้อมตามกรอบการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาควร (1) นำหลักเกณฑ์กรีนแอนด์คลีนมาใช้พัฒนาและปรับปรุงงานอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ (2) สร้างทีมงานเชิงบูรณาการกับเจ้าหน้าที่และชุมชนในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม (3) จัดทำคู่มือเกี่ยวกับงานอนามัยสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาเพื่อนำมาใช้เป็นแนวปฏิบัติและประเมินการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และ (4) จัดให้มีเครือข่ายเชิงบูรณการเพื่อกำกับติดตามการปฏิบัติงานอนามัยสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาให้ประสิทธิภาพสูงสุด
รายละเอียด: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13234
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2652300431.pdf3.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น