Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13235
Title: Guidelines of Developing Being a Digital Organization of Lampang Witthaya School, Lampang Province
แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรดิจิทัลของโรงเรียนลำปางวิทยา จังหวัดลำปาง
Authors: WARIT PAWEENBAMPEN
วริทธิ์ ปวีณบำเพ็ญ
Sopana Sudsomboon
โสภนา สุดสมบูรณ์
Sukhothai Thammathirat Open University
Sopana Sudsomboon
โสภนา สุดสมบูรณ์
[email protected]
[email protected]
Keywords: แนวทางการพัฒนา องค์กรดิจิทัล
Guidelines of developing
Digital organization
Issue Date:  7
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This research aimed to study 1) the current state of digital organization; 2) the desired state of digital organization; 3) the needs for developing being a digital organization; and 4) guidelines of developing being a digital organization of Lampang Witthaya School, Lampang Province.The research population consisted of 2 school administrators, 28 teachers, a school staff representative, and 240 parents of students from grades 4 to 6, totaling 271 participants, that were purposive selected. The keys informants consist of 7 informants. The research instruments were a dual-response format on the current and desired states of being a digital organization, with reliability coefficients of .98 and .98, respectively, and a semi-structured interview dealing with the development guidelines for being a digital organization of Lampang Witthaya School. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, PNImodified, and content analysis.The research findings were as follows: 1) the current state of the school as a digital organization was at high level overall; 2) the desired state of the school as a digital organization was also at a high level overall; 3) the needs for developing being a digital organization of Lampang Witthaya School, ranked from highest to lowest, were digital organizational culture, data utilization for decision-making, use of digital technology in operations, digital leadership of administrators, and digital technology competency of students and parents; and 4) guidelines for developing a digital organization, indicated that schools should: (1) establish a clear vision and goals for the use of digital technology; (2) analyze strengths and weaknesses, formulate strategies, create operational plans, implement, and monitor the use of technology in school management in a systematic and continuous manner; (3) provide training and develop digital technology skills for administrators and relevant personnel; (4) foster a digital culture among all staff members; and (5) continuously develop and improve the structure, processes, and technology.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรดิจิทัล 2) สภาพ พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรดิจิทัล 3) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการเป็นองค์กรดิจิทัล และ  4) แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรดิจิทัลของโรงเรียนลำปางวิทยา จังหวัดลำปางประชากรในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 2 คน, ผู้จัดการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครู จำนวน 28 คน ตัวแทนบุคลากร 1 คน และตัวแทนผู้ปกครองระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 240 คน รวมทั้งสิ้น 271 คนโดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 7 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบตอบสนองคู่เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรดิจิทัลของโรงเรียน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 และ .98 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรดิจิทัลของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรดิจิทัลของของโรงเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรดิจิทัลของโรงเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมาก  3) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการเป็นองค์กรดิจิทัลของโรงเรียน เรียงตามดัชนีความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ดังนี้ วัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินงาน ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหาร และสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของนักเรียนและผู้ปกครอง และ 4) แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรดิจิทัล พบว่าโรงเรียนควร (1) กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้ชัดเจน (2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน กำหนดกลยุทธ์ วางแผนการดำเนินงาน ดำเนินงานและกำกับติดตามเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการบริหารโรงเรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง (3) จัดการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (4) สร้างวัฒนธรรมดิจิทัลให้เกิดกับบุคลากรทุกฝ่าย และ (5) พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้าง กระบวนการ เทคโนโลยี อย่างต่อเนื่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13235
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2652300498.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.