Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13237
Title: | บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครนายก |
Other Titles: | Roles of administrators in learning management development in the 21st century of schools under Nakhon Nayok Educational Service Area Office |
Authors: | สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ รัตนาพร เข็มทิศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้บริหารโรงเรียน การเรียนรู้--การจัดการ การพัฒนาการศึกษา |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก จำนวน 293 คน ได้จากการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ในภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ การสนับสนุนสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี การพัฒนาครูและบุคลากร การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสนับสนุนการวัดและประเมินผล การนิเทศ กำกับ ติดตาม และการเป็นผู้นำทางวิชาการ และ 2) การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่าแตกต่างกัน โดยโรงเรียนขนาดเล็กแตกต่างกับโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้าน การสนับสนุนสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การสนับสนุนการวัดและประเมินผล และการนิเทศ กำกับ ติดตาม |
Description: | การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13237 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2652300647.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.