Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13296
Title: กลยุทธ์การมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนของเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Participation strategies in project management process of increasing the potential to protect people's lives and Property of the Public, Private, and Public Sector Networks: a case study of Suphanburi Provincial Administrative Organization.
Authors: ลักษณา ศิริวรรณ
มุจลินท์ งามเหมือน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: กลยุทธ์การมีส่วนร่วม การบริหารโครงการ เครือข่าย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณี--รัฐประศาสนศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ของเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน  โอกาส ภัยคุกคามของการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ของเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (3) นำเสนอกลยุทธ์การมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ของเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน                        การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารการสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์ ใช้วิธีคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวน 33 คน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ เฉพาะเรื่องและการวิเคราะห์เนื้อหา                                      ผลการศึกษาพบว่า (1)  ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการมากที่สุด รวมทั้งผู้ให้ข้อมูลภาครัฐและภาคเอกชนส่วนใหญ่มีระดับการมีส่วนร่วมทุกด้านระดับมาก แต่ผู้ให้ข้อมูลภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนโครงการและการดำเนินการโครงการระดับน้อยและไม่มีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ (2) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายมีจุดแข็งมากที่สุดคือ ความรู้และศักยภาพของบุคลากร จุดอ่อนมากที่สุดคือ  การประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการไม่ทั่วถึง โอกาสมากที่สุดคือ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้และมาต่อยอดโครงการ และ   ภัยคุกคามมากที่สุดคือ กฎหมายหรือระเบียบที่ไม่ยืดหยุ่นและการไม่สนับสนุนจากผู้บริหารท้องถิ่นในบางพื้นที่ และ              (3) กลยุทธ์การมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารโครงการ ได้แก่ 1) กลยุทธ์เชิงรุก ประกอบด้วย การขยายบริการด้านการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินด้วยระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ การเพิ่มช่องทางออนไลน์ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนดูภาพสดจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด บริเวณที่สำคัญในจังหวัด และ การเพิ่มศูนย์บริการประชาชนในการดูภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ได้ที่ อปท. ในพื้นที่ 2) กลยุทธ์เชิงรับ ประกอบด้วย การสร้างพันธมิตรกับเครือข่ายในพื้นที่ช่วยสอดส่องในการดูแลรักษาทรัพย์สินและการถ่ายทอดความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล  และแนวทางการมีส่วนร่วมให้กับภาคีเครือข่าย 3) กลยุทธ์เชิงพัฒนา ประกอบด้วย การทำบันทึกข้อตกลง ร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ในการเชื่อมโยงสัญญาณภาพกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น การใช้เทคโนโลยีในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้เครือข่ายรับทราบเพื่อส่งเสริม   การมีส่วนร่วมมากขึ้น และการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการวิเคราะห์ภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด และ 4) กลยุทธ์เชิง ถอนตัว ประกอบด้วย การให้เอกชนเข้ามาดูแลระบบและแก้ไขปัญหาทางเทคนิค และการขอรับงบประมาณสนับสนุน จากส่วนกลาง หรือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อพัฒนาผู้ให้บริการและการบริหารงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13296
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2643000256.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.