Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13324
Title: การนำนโยบายการบริหารงานของสำนักงานอัยการสูงสุดด้านการอำนวยความยุติธรรมไปปฏิบัติ
Other Titles: Administrative policy implementation of office of the attorney general regarding the Administration of Justice
Authors: นพดล อุดมวิศวกุล
เบ็ญจวรรณ ไทรงามเอี่ยม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: การนำนโยบายไปปฏิบัติ  นโยบายการบริหารงานของสำนักงานอัยการสูงสุด การอำนวยความยุติธรรม   สำนักงานอัยการสูงสุด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการณ์ในการนำนโยบายการบริหารงานของสำนักงานอัยการสูงสุด ด้านการอำนวยความยุติธรรมไปปฏิบัติ (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการนำนโยบายการบริหารงานของสำนักงานอัยการสูงสุดด้านการอำนวยความยุติธรรมไปปฏิบัติสู่ความสำเร็จ (3) เสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการนำนโยบายการบริหารงานของสำนักงานอัยการสูงสุดด้านการอำนวยความยุติธรรมไปปฏิบัติ การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรที่ปฏิบัติงานสำนักงานคดีในส่วนกลาง จำนวน 2,023 คน โดยใช้การคำนวณด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 334 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติ ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ข้าราชการสำนักงานคดีในส่วนกลาง จำนวน 168 คน โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้เกี่ยวข้องโดยตรงที่มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน โดยมีจำนวน 10 คน และใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นการสัมภาษณ์ในเชิงลึกเพื่อนำมาวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาที่สำคัญของการนำนโยบายการบริหารงานของสำนักงานอัยการสูงสุดด้านการอำนวย ความยุติธรรมไปปฏิบัติ ได้แก่ ทรัพยากรในการจัดการ ลักษณะขององค์การ และการสื่อสารระหว่างองค์การ (2) ปัจจัยด้านต่าง ๆ ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารงานของสำนักงานอัยการสูงสุดไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) แนวทางการปรับปรุงและพัฒนา ที่สำคัญที่สุดมีดังนี้ 1. ด้านทรัพยากรในการจัดการควรปรับปรุงอัตรากำลังบุคลากรให้เพียงพอและเหมาะสมกับปริมาณงาน พัฒนาทักษะหรือองค์ความรู้ให้มีประสิทธิภาพ สนับสนุนในด้านความรู้ ของบุคลากร รวมทั้งการพัฒนาความพร้อมของบุคลากรเพื่อใช้ในการทำงาน ปรับปรุงงบประมาณ ปรับปรุงวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความขาดแคลน 2. ด้านการสื่อสารควรปรับปรุงพร้อมพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับการปฏิบัติงานโดยใช้แอปพลิเคชัน ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. ด้านโครงสร้างองค์การควรปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การตามหน้าที่โดยการกำหนดหน้าที่ในแต่ละส่วนอย่างชัดเจน เพื่อให้การบริหารงานภายในองค์การให้มีความเหมาะสม ปรับโครงสร้างให้ง่ายต่อการประสานงานและบังคับบัญชาโดยการปรับปรุงโครงสร้างองค์การแนวนอนหรือแบน เนื่องจากโครงสร้างองค์การจะต้องมีความเหมาะสมต่อการดำเนินงานด้านการประสานความร่วมมือของหน่วยงานในการอำนวยความยุติธรรม ปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชนโดยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการทำให้การอำนวยความยุติธรรมรวดเร็ว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13324
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2643002351.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.