กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13417
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาและดูแลสุขภาพสำหรับพนักงานโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for development and health care for industrial waste power plant employees |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภาวิน ชินะโชติ พิมพ์ชนก อรุณโรจน์วัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | สุขภาพ พนักงาน โรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับสุขภาพพนักงานโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม (2) ศึกษาเปรียบเทียบผลสุขภาพพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เสนอแนวทางการปรับปรุงพัฒนาและดูแลสุขภาพสำหรับพนักงานโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือพนักงานโรงงานไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี อยุธยาและพิจิตร พนักงานกลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คน วิเคราะห์ในเชิงสถิติ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการศึกษาพบว่า (1) ผลสุขภาพพนักงานอยู่ในเกณฑ์ปกติจำนวน 123 คนคิดเป็นร้อยละ 88 โดยพนักงานกลุ่มผลสุขภาพที่อยู่ในเกณฑ์ปกติมีระดับสุขภาพร้อยละ 58 อยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 39 อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 3 อยู่ในระดับไม่เหมาะสม และผลสุขภาพพนักงานกลุ่มผิดปกติจำนวน 17 คนคิดเป็นร้อยละ 12 เป็นโรคอันไม่ได้เกิดจากการทำงานอาทิ เช่น ไขมัน โรคอ้วน เป็นต้น (2) พนักงานโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม ในเขตจังหวัดสระบุรี อยุธยาและพิจิตรจำแนกเป็นปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ และด้านตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน ผลตรวจสุขภาพของพนักงานโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมที่ไม่แตกต่างกัน (3) แนวทางการพัฒนาและดูแลสุขภาพสำหรับพนักงานโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลรับผิดชอบควรให้ความสำคัญด้านสุขภาพพนักงาน และควรจัดระบบการจัดการด้านสุขภาพ การวางแผนงานด้านสุขภาพและดำเนินงานด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับหลักกฎหมาย อาชีวอนามัย ข้อกำหนดของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และความต้องการด้านสุขภาพของพนักงานร่วมด้วย การปรับเวลาการปฏิบัติงานและปริมาณงานให้เหมาะสม การเพิ่มป้ายเตือนบ่งชี้สำหรับบางพื้นที่เพื่อการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย การจัดพื้นที่พักทานอาหารให้เพียงพอและถูกสุขลักษณะ การเพิ่มอุปกรณ์ป้องกันการทำงาน และการตรวจสุขภาพพนักงานครอบคลุมการตรวจสุขภาพจิตพนักงานควบคู่กัน การตรวจด้านสารเสพติด การเพิ่มสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพ เช่น การจัดให้มีประกันสุขภาพ การจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ และบัตรสวัสดิการเป็นต้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13417 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2653004180.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น