Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13417
Title: แนวทางการพัฒนาและดูแลสุขภาพสำหรับพนักงานโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม
Other Titles: Guidelines for development and health care for industrial waste power plant employees
Authors: ภาวิน ชินะโชติ
พิมพ์ชนก อรุณโรจน์วัฒนา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: สุขภาพ พนักงาน โรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับสุขภาพพนักงานโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม (2) ศึกษาเปรียบเทียบผลสุขภาพพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เสนอแนวทางการปรับปรุงพัฒนาและดูแลสุขภาพสำหรับพนักงานโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือพนักงานโรงงานไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี อยุธยาและพิจิตร  พนักงานกลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คน วิเคราะห์ในเชิงสถิติ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบที  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการศึกษาพบว่า (1) ผลสุขภาพพนักงานอยู่ในเกณฑ์ปกติจำนวน 123 คนคิดเป็นร้อยละ 88 โดยพนักงานกลุ่มผลสุขภาพที่อยู่ในเกณฑ์ปกติมีระดับสุขภาพร้อยละ 58 อยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 39 อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 3 อยู่ในระดับไม่เหมาะสม และผลสุขภาพพนักงานกลุ่มผิดปกติจำนวน 17 คนคิดเป็นร้อยละ 12 เป็นโรคอันไม่ได้เกิดจากการทำงานอาทิ เช่น ไขมัน  โรคอ้วน  เป็นต้น (2) พนักงานโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม ในเขตจังหวัดสระบุรี อยุธยาและพิจิตรจำแนกเป็นปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ และด้านตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน ผลตรวจสุขภาพของพนักงานโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมที่ไม่แตกต่างกัน (3) แนวทางการพัฒนาและดูแลสุขภาพสำหรับพนักงานโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลรับผิดชอบควรให้ความสำคัญด้านสุขภาพพนักงาน และควรจัดระบบการจัดการด้านสุขภาพ การวางแผนงานด้านสุขภาพและดำเนินงานด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับหลักกฎหมาย อาชีวอนามัย ข้อกำหนดของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และความต้องการด้านสุขภาพของพนักงานร่วมด้วย การปรับเวลาการปฏิบัติงานและปริมาณงานให้เหมาะสม การเพิ่มป้ายเตือนบ่งชี้สำหรับบางพื้นที่เพื่อการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย การจัดพื้นที่พักทานอาหารให้เพียงพอและถูกสุขลักษณะ  การเพิ่มอุปกรณ์ป้องกันการทำงาน และการตรวจสุขภาพพนักงานครอบคลุมการตรวจสุขภาพจิตพนักงานควบคู่กัน การตรวจด้านสารเสพติด การเพิ่มสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพ เช่น การจัดให้มีประกันสุขภาพ การจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ และบัตรสวัสดิการเป็นต้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13417
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2653004180.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.