กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13428
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจดุลพินิจรับคดีพิเศษ ศึกษาเฉพาะกรณีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ที่มีลักษณะเป็นคดีพิเศษตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal issues regarding the exercise of discretion in handling special cases: a case study of Offenses under the (1984 Emergency Decree on Borrowing Money that Defrauds the Public, Classified as Special Cases under) Section 21, Paragraph One (1) of the Special Case Investigation Act, B.E.2547 (2004)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรเดช มโนลีหกุล
กวินวัชร์ เสถียรนิธิรัฐ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527
พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความเป็นมาของการใช้อำนาจดุลพินิจในการรับคดีพิเศษของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจฐานการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน (2) ศึกษาปัญหาการใช้อำนาจดุลพินิจของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในการรับคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนไว้เป็นคดีพิเศษ (3) ศึกษาเปรียบเทียบอำนาจดุลพินิจของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในการรับคดีพิเศษในกรณีคดีการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเครือรัฐออสเตรเลีย (4) เสนอแนะในการแก้ไข พัฒนากระบวนการใช้อำนาจดุลพินิจของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในการรับคดีพิเศษกรณีที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากตัวบทกฎหมาย ตำรา งานวิจัย บทความและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจดุลพินิจทางปกครอง   ในการรับคดีพิเศษของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจฐานการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนผลการศึกษาพบว่า (1) อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเพียงคนเดียวที่ใช้อำนาจดุลพินิจมีคำสั่งรับหรือไม่รับคดี ที่เกี่ยวเนื่องกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนไว้เป็นคดีพิเศษซึ่งยังไม่สอดคล้องกับหลักการใช้และควบคุมตรวจสอบดุลพินิจฝ่ายปกครอง (2) การใช้อำนาจดุลพินิจของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษมีคำสั่งไม่รับเรื่องไว้เป็นคดีพิเศษไม่สามารถอุทธรณ์ได้ (3) เปรียบเทียบกฎหมายไทยกับต่างประเทศแล้วพบว่า กฎหมายไทยมิได้กำหนดกรอบการใช้อำนาจดุลพินิจของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษไว้อย่างชัดเจน เท่ากับเป็นการเปิดช่องให้ใช้ดุลพินิจเลือกได้ว่าจะให้รับหรือไม่รับเรื่องไว้เป็นคดีพิเศษได้โดยไม่มีขอบเขตและปราศจากการควบคุมโดยบทบัญญัติของกฎหมาย (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษแต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากรัฐสภา ดำรงตำแหน่งได้วาระเดียวและไม่เกิน 4 ปี รวมทั้ง ให้คำสั่งไม่รับเรื่องไว้เป็นคดีพิเศษเป็นคำสั่งทางปกครอง ผู้เสียหายสามารถอุทธรณ์คำสั่งได้ และแก้ไขพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามแชร์ลูกโซ่หรือการฉ้อโกงประชาชนมีประสิทธิภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13428
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2614000921.pdf1.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น