Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13433
Title: Legal Problems in the Rules of Procedure of the House of Representatives Affecting the Implementation of House Meeting
ปัญหาทางกฎหมายของข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ต่อการดำเนินการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
Authors: JIRUTCHAYA PHONFANIMIT
จิรัตน์ชยา พรฟ้านิมิต
Akadet Manoleehagul
อัคเดช มโนลีหกุล
Sukhothai Thammathirat Open University
Akadet Manoleehagul
อัคเดช มโนลีหกุล
[email protected]
[email protected]
Keywords: ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นับคะแนนเสียงใหม่  ตรวจสอบองค์ประชุม
Rules of Procedure of the House of Representatives
Vote Recount
Quorum Verification
Issue Date:  12
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This independent study aims to (1) examine the underlying concepts, theories, and purposes of legislative procedural rules; (2) analyze the legal issues pertaining to the Rules of Procedure of the Thai House of Representatives; (3) compare the legal issues in the Rules of Procedure of the Thai House of Representatives with those of the UK House of Commons and the French National Assembly; and (4) propose solutions for addressing these legal issues and ecommend revisions to the current Rules of Procedure of the Thai House of Representatives.This independent research employs qualitative research through documentary analysis, reviewing both physical and electronic sources. The researcher has examined textbooks, academic publications, theses, parliamentary minutes, transcripts, and other relevant documents to assess whether the current rules are adequate for resolving conflicts in meetings and ensuring effective performance by members of the House of Representatives.The findings reveal that 1)the legislative rules were intended to promote fair and efficient proceedings; however, 2) the current Rules of Procedure in Thailand lack effectiveness in resolving in-meeting conflicts. Notable issues include ambiguity in the provisions for vote recounts, leading to varied interpretations by members; insufficient coverage of bills discussed without inclusion on the meeting agenda; and inadequate enforcement of quorum checks and attendance requirements, which has resulted in members neglecting attendance, using this as a tool for political maneuvering. 3) Comparative analysis suggests that certain practices from the UK House of Commons and the French National Assembly could be applied to improve vote recount procedures, bill dissemination, and quorum verification. (4) The study recommends adopting suitable approaches from these foreign legislatures, aligning them with Thai legislative intentions to improve meeting procedures.
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีพื้นฐานและเจตนารมณ์ของการตราข้อบังคับการประชุมของฝ่ายนิติบัญญัติ (2) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายของข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรของไทย (3) ศึกษาเปรียบเทียบปัญหาทางกฎหมายของข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรของไทยกับสภาสามัญสหราชอาณาจักรและสภาผู้แทนราษฎรสาธารณรัฐฝรั่งเศส  และ (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายและแนวทางการแก้ไขข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรของไทยฉบับปัจจุบันการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ข้อมูลทางเอกสาร และข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าจากตำรา หนังสือ ผลงานและบทความทางวิชาการ  วิทยานิพนธ์ บันทึกการประชุมและรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและเอกสารทางวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรฉบับปัจจุบันมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะแก้ไขความขัดแย้งในที่ประชุมได้ และให้การทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบว่า (1) การตราข้อบังคับการประชุมของฝ่ายนิติบัญญัติมีเจตนารมณ์เพื่อให้ การประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย (2) ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรของไทยยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องความขัดแย้งในที่ประชุม โดยยังมีปัญหาในเรื่องต่าง ๆ เช่น บทบัญญัติการนับคะแนนเสียงใหม่ไม่ชัดเจนตามเจตนารมณ์ทำให้สมาชิกตีความแตกต่างกัน, บทบัญญัติไม่ครอบคลุมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยไม่มีการเผยแพร่ร่างพระราชบัญญัติที่ไม่ได้จัดไว้ในระเบียบวาระการประชุม และปัญหาการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการตรวจสอบองค์ประชุมและวิธีการแสดงตนเป็นองค์ประชุมไม่เคร่งครัด สมาชิกจึงไม่ใส่ใจที่จะเป็นองค์ประชุมและนำเรื่องดังกล่าวมาใช้เป็นข้อต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกัน (3) จากปัญหาดังกล่าวพบว่า การประชุมของสภาสามัญสหราชอาณาจักรและสภาผู้แทนราษฎรสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีแนวทางที่เหมาะสมที่จะสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องการออกเสียงลงคะแนนใหม่ การเผยแพร่ร่างพระราชบัญญัติ และการตรวจสอบองค์ประชุมได้ (4) จึงเสนอแนะให้นำแนวทางที่เหมาะสมของสภาสามัญสหราชอาณาจักรและสภาผู้แทนราษฎรสาธารณรัฐฝรั่งเศสมาปรับใช้กับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรของไทย โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเรื่องดังกล่าว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13433
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2614002349.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.