กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13433
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายของข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรต่อการดำเนินการประชุมสภาผู้แทนราษฎร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problems in the rules of procedure of the House of Representatives Affecting the Implementation of House Meeting |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อัคเดช มโนลีหกุล จิรัตน์ชยา พรฟ้านิมิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี สภาผู้แทนราษฎร--การประชุม การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีพื้นฐานและเจตนารมณ์ของการตราข้อบังคับการประชุมของฝ่ายนิติบัญญัติ (2) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายของข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรของไทย (3) ศึกษาเปรียบเทียบปัญหาทางกฎหมายของข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรของไทยกับสภาสามัญสหราชอาณาจักรและสภาผู้แทนราษฎรสาธารณรัฐฝรั่งเศส และ (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายและแนวทางการแก้ไขข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรของไทยฉบับปัจจุบันการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ข้อมูลทางเอกสาร และข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าจากตำรา หนังสือ ผลงานและบทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ บันทึกการประชุมและรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและเอกสารทางวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรฉบับปัจจุบันมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะแก้ไขความขัดแย้งในที่ประชุมได้ และให้การทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบว่า (1) การตราข้อบังคับการประชุมของฝ่ายนิติบัญญัติมีเจตนารมณ์เพื่อให้ การประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย (2) ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรของไทยยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องความขัดแย้งในที่ประชุม โดยยังมีปัญหาในเรื่องต่าง ๆ เช่น บทบัญญัติการนับคะแนนเสียงใหม่ไม่ชัดเจนตามเจตนารมณ์ทำให้สมาชิกตีความแตกต่างกัน, บทบัญญัติไม่ครอบคลุมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยไม่มีการเผยแพร่ร่างพระราชบัญญัติที่ไม่ได้จัดไว้ในระเบียบวาระการประชุม และปัญหาการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการตรวจสอบองค์ประชุมและวิธีการแสดงตนเป็นองค์ประชุมไม่เคร่งครัด สมาชิกจึงไม่ใส่ใจที่จะเป็นองค์ประชุมและนำเรื่องดังกล่าวมาใช้เป็นข้อต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกัน (3) จากปัญหาดังกล่าวพบว่า การประชุมของสภาสามัญสหราชอาณาจักรและสภาผู้แทนราษฎรสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีแนวทางที่เหมาะสมที่จะสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องการออกเสียงลงคะแนนใหม่ การเผยแพร่ร่างพระราชบัญญัติ และการตรวจสอบองค์ประชุมได้ (4) จึงเสนอแนะให้นำแนวทางที่เหมาะสมของสภาสามัญสหราชอาณาจักรและสภาผู้แทนราษฎรสาธารณรัฐฝรั่งเศสมาปรับใช้กับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรของไทย โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเรื่องดังกล่าว |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13433 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2614002349.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น