กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13435
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการจราจรทางบกในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems of the Land Traffic Procedures in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์
สมิทธ์ อุงจิตต์ตระกูล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายจราจร--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิดทฤษฎีและหลักของการดำเนินคดีเกี่ยวกับการจราจรทางบกในประเทศไทย (2) ศึกษาถึงการดำเนินคดีเกี่ยวกับการจราจรทางบกตามกฎหมายไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีเกี่ยวกับการจราจรทางบกในประเทศไทย (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีเกี่ยวกับการจราจรทางบกในประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 หนังสือรายงานประจำปี รายงานการประชุมสัมมนาหรือเอกสารประกอบการประชุมสัมมนา ดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ เอกสารการสอน บทความ บทสัมภาษณ์และ งานวิชาการอื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการจราจรทางบกของประเทศไทย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีเกี่ยวกับการจราจรทางบก ให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสม และเป็นรูปธรรม ต่อไปผลการศึกษา พบว่า (1) แนวคิด หลักการ และทฤษฎีทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดี เกี่ยวกับการจราจรทางบกในประเทศไทย คือ หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม หลักไม่มีความผิดไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย หลักการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง หลักความรับผิดของกฎหมายจราจรในทางแพ่ง และทฤษฎีกฎหมายสามชั้น (2) การบังคับใช้กฎหมายจราจรของประเทศไทย เป็นไปตามพระราชบัญญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ส่วนกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกามีการบัญญัติเป็นประมวลกฎหมายจราจร สาธารณรัฐสิงคโปร์และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการตราเป็นพระราชบัญญัติการจราจรทางบกเช่นเดียวกับประเทศไทย (3) กฎหมายจราจรทางบกของประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐสิงคโปร์และประเทศญี่ปุ่น มีการบังคับใช้กฎหมายผ่าน เจ้าพนักงานตำรวจเช่นเดียวกับประเทศไทย นอกจากนี้ประเทศสหรัฐอเมริกามีการพิจารณาคดีจราจร ในศาลจราจร ส่วนสาธารณรัฐสิงคโปร์และประเทศญี่ปุ่นมีการพิจารณาคดีจราจรในศาลแขวงเช่นเดียวกับประเทศไทย (4) ควรมีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบกในประเทศไทยเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของ เจ้าพนักงานตำรวจ วิธีการพิจารณาคดีจราจร ความเชี่ยวชาญกฎหมายเฉพาะของผู้พิพากษา และการบังคับใช้เรื่องการตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถที่ไม่มีประสิทธิภาพ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อให้เกิดการตระหนักถึงจิตสำนึกที่ดี อันเป็นผลให้เป็นการแก้ไขปัญหาจราจรได้อย่างเป็นรูปธรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13435
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2614003719.pdf1.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น