กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13436
ชื่อเรื่อง: | การปฏิรูปกฎหมายอาญา : ศึกษากรณีความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal reform in criminal law : a case study of offenses related to the operation of renting, exchanging, or distributing films without obtaining a license under the Film and Video Act B.E. 2551 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วลัยวรรณ มธุรสปรีชากุล นันทิปรัชญ์ จำปานิล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ภาพยนตร์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักเกณฑ์ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับการกำหนดความผิดทางอาญา ทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษ แนวคิดเกี่ยวกับอาญาเฟ้อ และหลักเกณฑ์การปฏิรูปกฎหมาย (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดีทัศน์ของไทย และของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา (3) วิเคราะห์การปฏิรูปกฎหมายอาญา เกี่ยวกับการประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ของไทยและของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา (4) เสนอแนะมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดีทัศน์ของไทย เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 77 และแผนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากหนังสือ ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ คำพิพากษา รายงานการประชุมสภา บันทึกความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ตลอดจนข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และบทบัญญัติกฎหมายต่างๆ ของประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษาพบว่า (1) การกระทำที่จะกำหนดให้เป็นความผิดอาญาได้นั้นจะต้องมีลักษณะที่เป็นภยันตราย ต่อสังคม และคนในสังคมส่วนมากเห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่น่าตำหนิ น่ารังเกียจ และไม่สมควรให้อภัย ประกอบกับการลงโทษทางอาญาหากไม่ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในการลงโทษก็ไม่สมควรบัญญัติให้เป็นกฎหมายอาญา ซึ่งการกำหนดความผิดอาญาที่มากเกินไปทำให้เกิดกฎหมายอาญาเฟ้อ โดยการปฏิรูปกฎหมายมีหลักเกณฑ์ว่าให้ยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็น (2) ในประเทศไทย ผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต จะต้องรับโทษทางอาญา แต่ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ ไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการ แต่ผู้ประกอบกิจการซื้อ ขายซีดีและดีวีดี ซอฟต์แวร์เกม ซึ่งเป็นสินค้ามือสอง จะต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจสินค้ามือสอง (3) ประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกาได้ปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการโดยการยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่ไม่จำเป็น ซึ่งคล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์การปฏิรูปกฎหมายของประเทศไทย (4) ควรยกเลิกความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง และโทษตามมาตรา 79 และความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง และโทษตามมาตรา 82 ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13436 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2614003958.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น