กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13439
ชื่อเรื่อง: | มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal measures concerning technology transfer for industrial development |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิวิธ วงศ์ทิพย์ วินิตา ฉิมสุนทร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปุณณ์ดาพัชร์ วิมลคุณารักษ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การพัฒนาอุตสาหกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาของการถ่ายทอดเทคโนโลยี (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของไทย (4) เสนอแนวทางในการกำกับดูแลการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยมีการรวบรวมข้อมูลจากตำราทางกฎหมาย วิทยานิพนธ์ บทความ และฐานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ควบคู่กับการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของไทย จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น ผลการวิจัยพบว่า (1) เทคโนโลยีคือพลังขับเคลื่อนที่นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม ประเทศกำลังพัฒนาจึงมีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งหวังว่าจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านการลงทุนจากต่างประเทศและการทำสัญญาทางเทคโนโลยีกับชาวต่างชาติ (2) จีน ญี่ปุ่น และเวียดนามมีการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการลงทุนจากต่างประเทศและกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ความคุ้มครองแก่การลงทุนจากต่างประเทศและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของชาวต่างชาติ ในขณะเดียวกัน ทั้งสามประเทศนี้ก็มีการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมและการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการผูกขาดด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเป็นธรรม (3) ประเทศไทยยังไม่มีกรอบทางกฎหมายในการกำกับดูแลการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ชัดเจน (4) ประเทศไทยควรจัดทำกฎหมายแม่แบบว่าด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยี อันมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการผูกขาดด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจกับการกำกับดูแลการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในแง่ของการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยไม่ขัดแย้งกับกติกาแห่งองค์การการค้าโลก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13439 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2624000077.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น