Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13444
Title: ข้อจำกัดของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน
Other Titles: Limitations of mediation of the Civil Dispute Mediation Center
Authors: อิงครัต ดลเจิม
รณิณตา หนูสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การไกล่เกลี่ย
ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา เครือรัฐออสเตรเลียและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (3) วิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน (4) เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาต่างประเทศในประเทศที่ทำการศึกษา ข้อมูลจากตำรา และคำอธิบายต่าง ๆ และรวบรวมข้อมูลจากตำรากฎหมาย บทความเอกสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ตลอดจนเอกสาร สิ่งพิมพ์ และสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจัดการข้อพิพาท ได้แก่ ความเป็นธรรม ความรวดเร็ว ความประหยัด การรักษาความลับ โดยมีกลไกบังคับที่มีประสิทธิภาพ และรักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่ความ (2) ในประเทศไทยกฎหมายที่ใช้ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน คือพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ในประเทศสหรัฐอเมริกา คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิพลเมือง ค.ศ.1964 ในเครือรัฐออสเตรเลียคือ กฎการไกลเกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ค.ศ. 2004 ในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ คือกฎหมายว่าด้วยการระงับข้อพิพาททางเลือก ค.ศ. 2004 (3) ในประเทศไทยกฎหมายมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้แต่กำหนดเพียงกว้างๆ และมิได้กำหนดคุณสมบัติที่จำเป็น ด้านอายุ ด้านการศึกษา และการฝึกอบรมที่จำเป็นต่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทบางลักษณะ และมิได้กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องจริยธรรมของผู้ไกล่เกลี่ย รวมถึงข้อยกเว้นการบังคับตามข้อตกลงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทยังไม่ครอบคลุม ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา เครือรัฐออสเตรเลีย และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (4) ควรมีการแก้ไขปัญหาโดยเพิ่มเติมคุณสมบัติ ของ ผู้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 เรื่องอายุของผู้ไกล่เกลี่ยต้องไม่น้อยกว่า 30 ปี และการศึกษาต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาที่จำเป็นสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  ควรเพิ่มเติมจริยธรรมของผู้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562  โดยกำหนดให้ผู้ไกล่เกลี่ยต้องเปิดเผยการกระทำหรือความสัมพันธ์ของตนที่มีกับคู่ขัดแย้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่เป็นคนกลางให้คู่ขัดแย้งทราบ ห้ามรับทำการงานใดๆให้แก่คู่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ให้ไกล่เกลี่ยเฉพาะเรื่องที่ตนเองมีคุณสมบัติและทักษะเพียงพอ ต้องไม่อวดอ้างการที่ตนเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ต้องไม่โฆษณาเพื่อให้ตนเป็นผู้ไกล่เกลี่ย และควรเพิ่มเติมข้อยกเว้นการบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทตาม มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ให้รวมถึงกรณีข้อตกลงถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขในภายหลังโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่พิพาท คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยมีวัตถุประสงค์จูงใจให้คู่กรณีลงนามในข้อตกลงระงับ ข้อพิพาทด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13444
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2624001760.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.