กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13456
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการนำมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำมาบังคับใช้กับนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems in applying legal measures for prevention repeat offenses to prisoners after they are released from prison |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ ฌัชชา เกิดชม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การกระทำผิดซ้ำ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาทฤษฎีและหลักการกับเกี่ยวสิทธิของนักโทษเด็ดขาด ภายหลังพ้นโทษ, (2) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั ่งเศส และเครือรัฐ ออสเตรเลียเกี ่ยวกับการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำที่นำมาบังคับใช้กับนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ, (3) ศึกษา วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการนำมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำมาบังคับใช้กับนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ, (4) เสนอแนะทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำที่นำมาบังคับใช้กับนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากหนังสือ ภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากตำราและคำอธิบายต่าง ๆ หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีอาญา บทความ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เอกสารวิจัยเพื่อให้งานวิจัยสมบูรณ์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามทฤษฎีและหลักการกับเกี่ยวสิทธิของนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ สิทธิใน การได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม เป็นสิทธิขั ้นพื ้นฐานตามกฎหมาย สิทธิดังกล่าวจึงมีความเกี่ยวข้องกับ กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมความประพฤติและการคุมขังผู้กระทำผิดที่มีความเสี่ยงที่จะกระทำผิดซ้ำสูงไว้ (2) มาตรการทางกฎหมายในประเทศไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำที ่นำมาบังคับใช้กับนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ หลักการลงโทษตามที่ผู กระทำผิดสมควรได้รับโทษจะต้องได้สัดส่วนในการกระทำ ความผิดกฎหมายของต่างประเทศให้อำนาจศาลในการกำหนดโทษ, (3) การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการนำมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำมาบังคับใช้กับนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ ในการดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในทางปฏิบัตินั้น ปัจจุบันในต่างประเทศหลาย ๆ ประเทศดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำ ผิดตามหลักความเสี่ยง ความต้องการ การตอบสนอง ซึ่งเป็นหลักการที่ให้ความสำคัญกับการจำแนกผู้กระทำผิดว่า ผู้กระทำผิดเป็นผู้มีความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำสูงหรือไม่, (4) เสนอแก้ไข พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำ ความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 มีข้อกฎหมายที่มีข้อบกพร่องในเรื่องระยะเวลาการใช้ มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ ตามมาตรา 22 การกำหนดระยะเวลาการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาด ภายหลังพ้นโทษประเทศไทยไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันพ้นโทษนั้น ซึ่งขัดหลักความได้สัดส่วนเป็นหลักการพื้นฐานภายใต้หลักนิติธรรมเป็นหลักสำคัญเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ควรคำนึงถึงหลักความได้สัดส่วน, การที่ไม่ขอความยินยอม จากนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษบังคับใช้มาตรการทางการแพทย์เป็นการกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล อันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, ผู้ถูกคุมขังมีสิทธิได้รับการเยียวยาจากการคุมขังที่มิชอบนั้น ขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ข้อ 9 ที่รับรองสิทธิที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนหากถูกจับกุมหรือถูกควบคุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13456 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2634002055.pdf | 866.19 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น