Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13458
Title: มาตรการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ
Other Titles: Measures to check and balance the use of discretion in odering not to sue of the prosecutor
Authors: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
สุรภา วัฒนากลาง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
อัยการ
ยกฟ้อง
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ (2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น  (3) วิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวสอบการใช้ดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ (4)  เสนอแนะแก้ไขปรับปรุงกฎหมายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 143 และมาตรา 145การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการค้นคว้าเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 สำนวนชี้ขาดที่มีความเห็นแย้งจากอัยการสูงสุด ข่าวจากสื่อมวลชน จากเอกสารทางกฎหมาย เอกสารหรือตำราทางวิชาการ งานวิจัยวิทยานิพนธ์ บทความ ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่มีโทษทางอาญาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าวผลการศึกษาพบว่า (1) การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งคดีนั้นต้องกระทำภายใต้ขอบเขตของกฎหมายที่กำหนดไว้โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งกฎหมายได้การแบ่งแยกอำนาจของรัฐไว้อย่างชัดเจนตามหลักนิติธรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจ (2)กฎหมายประเทศไทยให้อำนาจของพนักงานอัยการในการสั่งไม่ฟ้องคดี หากเห็นว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด หรือมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง หรือคดีนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ขณะที่กฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีระบุให้อัยการฟ้องคดีทุกเรื่องหากมีพยานหลักฐานเพียงพอ เป็นการปฏิเสธไม่ให้ใช้ดุลพินิจเกินไป สำหรับประเทศญี่ปุ่นการสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีอาญาใช้ดุลพินิจได้ในหลายกรณี เช่น พยานหลักฐานไม่พอที่จะลงโทษผู้ต้องหา หรือ ผู้ต้องหามีอายุหรือความไร้เดียงสา อัยการญี่ปุ่นมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีก็ได้  (3)การตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการในประเทศไทยนั้นกำหนดให้องค์กรตำรวจเป็นผู้มีอำนาจ ในขณะที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีให้ศาลเป็นผู้ตรวจสอบ ส่วนญี่ปุ่นนั้นมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้อง (4) ควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายในการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีอาญาโดยกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการสั่งคดี และเห็นควรจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องขึ้นมาทำหน้าที่แทนองค์กรตำรวจในการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ  และกำหนดระยะเวลาในการทำความเห็นแย้งไว้ด้วย เพื่อไม่ให้เนิ่นนานเกินไปจนคดีอาจขาดอายุความได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13458
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2634002170.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.