Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13460
Title: | ปัญหาอำนาจการสอบสวนฟ้องร้องเป็นอำนาจเดียวกัน ศึกษากรณีการมีส่วนร่วมของพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญา |
Other Titles: | Problems of the same power for inquiry and criminal action: case study: public prosecutors’ involvement in criminal case inquiries |
Authors: | อิงครัต ดลเจิม นฤมล จุนันที มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การสืบสวนอาชญากรรม การฟ้องคดีอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักอำนาจ การสอบสวนฟ้องร้องเป็นอำนาจเดียวกัน (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจการสอบสวนเป็นอำนาจเดียวกันของพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญาของประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส และประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับหลักอำนาจการสอบสวนฟ้องร้องเป็นอำนาจเดียวกัน กรณีการมีส่วนร่วมของพนักงานอัยการในการสอบสวนและ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนที่เกี่ยวข้องอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญาต่อไปการศึกษานี้การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยวิธีการรวบรวมศึกษาจากเอกสารซึ่งเป็นข้อมูลทางเอกสารที่เกี่ยวข้องกับทางวิชาการจากบทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย รายงานวิชาการต่าง ๆ วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ตัวบทกฎหมาย หลักกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา และกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลที่ค้นคว้าได้จากทางอินเตอร์เน็ต และนำมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักอำนาจการสอบสวนฟ้องร้องเป็นอำนาจเดียวกันนั้น ถือว่าการดำเนินคดีอาญาในชั้นสอบสวนและฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียว โดยพนักงานอัยการเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินคดีในชั้นก่อนฟ้องและมีตำรวจเป็นผู้ช่วยของพนักงานอัยการ พนักงานอัยการอัยการจึงมีอำนาจเริ่มต้นคดีอาญาหรือสามารถเข้ามาควบคุมคดีได้ (2) มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยปรากฏในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ส่วนมาตรการทางกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสปรากฏในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประเทศญี่ปุ่นปรากฏในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (3) กฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศญี่ปุ่นมีการกำหนดให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนคดีอาญาตั้งแต่เริ่มต้นคดีซึ่งสอดคล้องกับระบบพนักงานอัยการสากล แตกต่างจากพนักงานอัยการของประเทศไทยที่กฎหมายมิได้กำหนดให้มีอำนาจในการสอบสวนคดีตั้งแต่เริ่มต้นคดี (4) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีความอาญา มาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 21/1 มาตรา 140 มาตรา 141 มาตรา142 และมาตรา 143 โดยให้พนักงานอัยการเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตั้งแต่เริ่มต้นคดี และให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการสอบสวน รวมทั้งมีอำนาจในการสอบสวนคดีอาญา เพื่อให้การรวบรวมพยานหลักฐานมีความถูกต้องครบถ้วน และลดระยะเวลาในการสอบสวนคดีอาญาให้กระชับขึ้น ซึ่งทำให้การสอบสวนและการฟ้องร้องคดีอาญาเป็นขั้นตอนเดียวกันโดยสมบูรณ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13460 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2634002840.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.