กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13473
ชื่อเรื่อง: | มาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal measures to prevent recidivism of sexual or violent offences |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปัณณวิช ทัพภวิมล ฉายฉาน แก่นลา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การกระทำผิดซ้ำ อาชญากรรมทางเพศ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง (2) ศึกษาและเปรียบเทียบหลักเกณฑ์มาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรงของประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เครือรัฐออสเตรเลีย และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) ศึกษาและวิเคราะห์หลักเกณฑ์การพิจารณามาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรงของประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เครือรัฐออสเตรเลีย และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขและพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง ให้มีความเหมาะสม และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้กระทำผิดการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนระเบียบกฎกระทรวงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษาหนังสือวารสาร บทความทางวิชาการ ข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยและเอกสารทางวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เครือรัฐออสเตรเลีย และสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยมุ่งเน้นศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและขั้นตอนการใช้มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรงของประเทศไทย สภาพปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง มุ่งเน้นให้ความสำคัญถึงประโยชน์ของมาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ (2) เมื่อศึกษากฎหมายของประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เครือรัฐออสเตรเลีย และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ต่างให้ความสําคัญกับการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ โดยประมวลกฎหมายอาญาเยอรมนี ได้กำหนดเกี่ยวกับการจำกัดอิสรภาพเพิ่มเติมของผู้กระทำความผิดที่ถูกลงโทษจำคุกแล้ว เครือรัฐออสเตรเลียกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการติดตามควบคุมสอดส่องผู้พ้นโทษคดีอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงที่กำหนดกระบวนการควบคุมสอดส่องแบบครบวงจร ส่วนสาธารณรัฐฝรั่งเศสบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (3) เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เครือรัฐออสเตรเลียและสาธารณรัฐฝรั่งเศส พบว่ารูปแบบชื่อกฎหมายมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำแต่ละประเทศต่างก็มีการกำหนดไว้ในกฎหมายหลายฉบับ ที่แตกต่างกัน โดยบทบัญญัติของกฎหมายไทยและต่างประเทศ ต่างก็มีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน เพื่อป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดกลับไปกระทำความผิดซ้ำ เพื่อฟื้นฟู ผู้กระทำความผิด กฎหมายไทยมีมาตรการทางการแพทย์ มาตรการเฝ้าระวังการกระทำความผิดซ้ำ และมาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกับกฎหมายต่างประเทศ แต่มีวัตถุประสงค์หลักเดียวกัน คือ การป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ และการฟื้นฟูแก้ไขให้ผู้กระทำความผิดกลับเข้าสู่สังคมอีกครั้ง (4) เพื่อการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรงดังกล่าว จึงเห็นควรมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง ให้มีประสิทธิภาพและเทียบเท่ามาตรฐานสากล |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13473 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2644001378.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น