Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13489
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมดูแลสุนัขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Other Titles: Legal measures regarding the supervision of dogs by local administrative organization
Authors: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
นงนุช ด้วงเรือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
สุนัข--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมดูแลสุนัข ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมดูแลสุนัขขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศนิวซีแลนด์ (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมาย ในการควบคุมดูแลสุนัขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขกฎหมาย การควบคุมดูแลสุนัขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารจากตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ ข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเอกสารทางกฎหมายและบทบัญญัติ กฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่เป็นระบบและเหมาะสม อันจะสามารถนำไปสู่การปรับปรุง กฎหมายในการควบคุมดูแลสุนัขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดว่าด้วยสิทธิสัตว์และสวัสดิภาพสัตว์ สัตว์ทุกชนิดมีสิทธิที่จะได้รับ การเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม สัตว์นั้นจะต้องไม่ถูกทอดทิ้งหรือทำให้ตายโดยเด็ดขาด และสิทธิของสัตว์ต้องได้รับ การยอมรับจากกฎหมาย (2) กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมดูแลสุนัขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีเฉพาะข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้นที่ใช้บังคับอยู่ ซึ่งแตกต่างจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศนิวซีแลนด์ ที่มีการบัญญัติกฎหมายการควบคุมดูแลสุนัขเป็นการเฉพาะ รวมถึงมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด (3) กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมดูแลสุนัขขององค์กรปกครองปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัญหา คือ ปัญหา การขาดบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลสุนัขเป็นการเฉพาะ ปัญหาการขาดมาตรการ ในการขึ้นทะเบียนการเลี้ยงสุนัขและขาดบทลงโทษที่เหมาะสม ปัญหาการควบคุมการจำหน่ายสุนัข และปัญหาการเพิ่มจำนวนของสุนัขจรจัดเนื่องจากไม่มีการมาตรการควบคุมดูแลจากภาครัฐ (4) ควรเพิ่มเติม กฎหมายในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 29 วรรคสาม ในกรณีการควบคุมดูแลสุนัข ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลในเขตท้องถิ่นนั้น โดยให้ออกกฎกระทรวง มารองรับบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้มีผลใช้บังคับได้ในทุกท้องถิ่นทั่วราชอาณาจักร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13489
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654000583.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.