Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13502
Title: | สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีจิตบกพร่องทางสติปัญญา |
Other Titles: | Right of the accused or defendant with intellectual disabilities to access the criminal justice process |
Authors: | อิงครัต ดลเจิม สีหราช บัวเที่ยง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี คนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญากับอาชญากรรม กระบวนการยุติธรรมทางอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาของผู้ต้องหา หรือจำเลยที่มีจิตบกพร่องทางสติปัญญา (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ต้องหา หรือจำเลยที่มีจิตบกพร่องทางสติปัญญาของประเทศไทย ประเทศอังกฤษ และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) วิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ต้องหา หรือจำเลยที่มีจิตบกพร่องทางสติปัญญาของประเทศไทย ประเทศอังกฤษ และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (4) เสนอแนวทางในการแก้ไขกฎหมาย เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ต้องหา หรือจำเลยที่มีจิตบกพร่องทางสติปัญญาให้มีประสิทธิภาพต่อไปการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร จากตำราทางกฎหมายบทความทางวิชาการ วารสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ คำพิพากษา ประมวลกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งของประเทศไทย ประเทศอังกฤษ และสาธารณรัฐเยอรมนี โดยนำมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุป และข้อเสนอแนะสำหรับเป็นแนวทางในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา หรือจำเลยที่มีจิตบกพร่องทางสติปัญญาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้มีประสิทธิภาพผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ต้องหา หรือจำเลยที่มี จิตบกพร่องทางสติปัญญา เป็นแนวคิดพื้นฐานของมนุษย์อันเป็นหลักประกันความเสมอภาคตามกฎหมาย โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และการเข้าถึงความเสมอภาคดังกล่าวต้องไม่ปรากฏอุปสรรคในการเข้าถึงความยุติธรรมที่ต้องกระทำต่อทุกคนโดยเท่าเทียม และรวดเร็ว (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ต้องหา หรือจำเลยที่มีจิตบกพร่อง ทางสติปัญญาปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 มาตรา 134/2 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 ส่วนมาตรการทางกฎหมายของประเทศอังกฤษปรากฏในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา (วิกลจริต) พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา (ความวิกลจริต และไม่เหมาะที่จะสารภาพ) พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติความรุนแรงในครอบครัวอาชญากรรม และเหยื่อ พ.ศ. 2547 และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีปรากฏในประมวลกฎหมายอาญา (3) กฎหมายทั้งของประเทศอังกฤษ และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีต่างยอมรับไปในทำนองเดียวกันว่าผู้ที่กระทำผิดในขณะที่วิกลจริต หรือมีจิตบกพร่องทางสติปัญญาไม่ต้องรับโทษทางอาญา เนื่องจากไม่ได้กระทำไปโดยมีจิตใจที่ชั่วร้าย หากแต่เป็นเพราะความเจ็บป่วยทางจิตทำให้ไม่สามารถที่จะแยกแยะความผิดชอบได้ หรือไม่สามารถบังคับตัวเองได้ จึงได้กระทำความผิดขึ้น บุคคลเหล่านี้สมควรได้รับการบำบัด หรือมอบให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งรับไปรักษามากกว่าที่จะการลงโทษทางอาญาได้ แตกต่างจากของประเทศไทย ซึ่งหากผู้กระทำความผิด ขณะกระทำความผิดไม่สามารถรู้สึกผิดชอบได้ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจาก มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ศาลจะพิพากษาว่าผู้กระทำยังมีความผิดอยู่ แต่ไม่ต้องรับโทษสำหรับการกระทำความผิดนั้น (4) ควรมีการแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 มาตรา 134/2 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 และมาตรา 248 รวมทั้งต้องสร้างความร่วมมือระหว่างศาล และพนักงานอัยการในการค้นหาข้อเท็จจริงในระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นศาลให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครอง และเข้าถึงสิทธิของผู้ต้องหา หรือจำเลยในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเป็นสากลต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13502 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654001680.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.