กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13503
ชื่อเรื่อง: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal issue on possession and license of personal firearms |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ โสภิดา ละจา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ปืน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และประวัติความเป็นมาของกฎหมายอาวุธปืน (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคลของประเทศไทยกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคล (4) ศึกษาข้อเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคลการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ วารสาร บทบัญญัติของกฎหมาย บทความ และคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตที่เข้าถึงได้โดยง่ายและน่าเชื่อถือ เพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคลผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และการรักษาความสงบเรียบร้อยของรัฐ รวมถึงแนวคิดของหลักการป้องกัน ประกอบกับประวัติความเป็นมาของกฎหมายอาวุธปืน ทำให้เข้าใจถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายอาวุธปืน (2) เมื่อศึกษากฎหมายอาวุธปืนของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น ทุกประเทศล้วนยอมรับสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการที่จะมีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคล แต่มีการออกกฎหมายควบคุมอาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรง (3) สำหรับประเทศไทยแม้มีกฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคล คือพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 แต่กฎหมายฉบับดังกล่าวมีการใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป บทบัญญัติบางมาตราที่อ้างอิงกฎหมายอื่นจึงไม่เป็นปัจจุบัน และมีมาตรฐานที่ต่ำกว่ากฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น (4) ควรเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิขออนุญาต, การกำหนดประเภท ชนิด จำนวนอาวุธปืนที่อนุญาตให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รวมถึงการตรวจสอบหลังออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคล |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13503 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654001698.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น