Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13503
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณวิภา เมืองถ้ำth_TH
dc.contributor.authorโสภิดา ละจาth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2025-01-24T08:47:52Z-
dc.date.available2025-01-24T08:47:52Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13503en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และประวัติความเป็นมาของกฎหมายอาวุธปืน (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคลของประเทศไทยกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคล (4) ศึกษาข้อเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคลการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ วารสาร บทบัญญัติของกฎหมาย บทความ และคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตที่เข้าถึงได้โดยง่ายและน่าเชื่อถือ เพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคลผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และการรักษาความสงบเรียบร้อยของรัฐ รวมถึงแนวคิดของหลักการป้องกัน ประกอบกับประวัติความเป็นมาของกฎหมายอาวุธปืน ทำให้เข้าใจถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายอาวุธปืน (2) เมื่อศึกษากฎหมายอาวุธปืนของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น ทุกประเทศล้วนยอมรับสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการที่จะมีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคล แต่มีการออกกฎหมายควบคุมอาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรง (3) สำหรับประเทศไทยแม้มีกฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคล คือพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 แต่กฎหมายฉบับดังกล่าวมีการใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป บทบัญญัติบางมาตราที่อ้างอิงกฎหมายอื่นจึงไม่เป็นปัจจุบัน และมีมาตรฐานที่ต่ำกว่ากฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น (4) ควรเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิขออนุญาต, การกำหนดประเภท ชนิด จำนวนอาวุธปืนที่อนุญาตให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รวมถึงการตรวจสอบหลังออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectปืน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนส่วนบุคคลth_TH
dc.title.alternativeLegal issue on possession and license of personal firearmsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study, the legal issue on the licensing for possession and use of personal firearms, is conducted with the following objectives (1) To study concept, theory, and history of firearms laws. (2) To compare the licensing for possession and use of personal firearms laws of Thailand to firearms laws of United States and Japan. (3) To study and analyze legal issue on the licensing for possession and use of personal firearms. (4) To suggest a guideline for the amendment to the law on licensing for possession and use of personal firearms.This independent study is qualitative research, with documentary researching, data collection from various academic text such as textbook, thesis, academy journal, the written laws, articles, and the decisions of foreign court, including the information from officials or reliable website, to conduct content analysis and suggest a guideline for the amendment to the law on licensing for possession and use of personal firearms.The study finds that (1) Adhering to the theory on the protection of rights and freedoms and on maintaining public order, including the concept of legal defense, coupled with the history of firearm laws, the purpose of firearms laws is realized. (2) The comparison on firearms laws between Thailand, United States and Japan reveals that the laws recognize the individual rights and freedoms to possess and use personal firearms, but also enacts regulation as firearms is considered a lethal weapon. (3) Although Thailand has firearms laws, Firearms, Ammunition, Explosives, Fireworks and Imitation Firearms Act, B.E. 2490, but such law has been enacted for a long period of time without any revision or amendment to suit the changing circumstances. Therefore, some of its articles are not up to date and have lower firearms control standard than the laws of United States and Japan. (4) With the reasons stated hereinabove, the study proposes an amendment to the firearms laws on qualification and restriction of licensee, type and the number of allowed firearms, to better suits the changing circumstances and the purpose of the firearms laws and to include the review on the issued firearms license.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654001698.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.