Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13504
Title: | ความเหมาะสมการนำมาตรการชะลอฟ้องคดีอาญามาใช้ในกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายญี่ปุ่น |
Other Titles: | Suitability for introducing deferred prosecution to Thai Law in Comparison with Japanese Law |
Authors: | สุพัตรา แผนวิชิต วิจิตรา เมตตามตะกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การชะลอการฟ้อง--ไทย การชะลอการฟ้อง--ญี่ปุ่น การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับมาตรการชะลอฟ้องคดีอาญาในกฎหมายไทยและญี่ปุ่น (2) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการชะลอฟ้องในกฎหมายไทยและญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ปัญหาการใช้มาตรการชะลอฟ้องของพนักงานอัยการไทยและญี่ปุ่น (4) เสนอแนะ แนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับมาตรการชะลอฟ้องคดีอาญาในกฎหมายไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสาร โดยค้นคว้ารวบรวมหนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ ข้อมูลในอินเตอร์เน็ต รวมถึงบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวกับมาตรการชะลอฟ้องในกฎหมายไทยให้เหมาะสมกับปัจจุบันผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎีการสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการตามหลักดุลพินิจ ทำให้พนักงานอัยการใช้มาตรการทางเลือกได้ และกฎหมายได้วางหลักเกี่ยวกับประเภทคดีที่ใช้ หลักการพิจารณา ผลของการใช้ และการตรวจสอบคำสั่งของพนักงานอัยการ ให้ปฎิบัติได้ในแนวทางเดียวกัน (2) พนักงานอัยการของไทยและญี่ปุ่นมีหลักการที่ใช้สั่งฟ้องคดีเหมือนกัน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดบังคับให้พนักงานอัยการต้องสั่งฟ้องทุกคดี แต่สำหรับพนักงานอัยการไทยมิได้กำหนดถึงมาตรการชะลอฟ้องไว้ สำหรับพนักงานอัยการญี่ปุ่น ได้วางหลักของมาตรการชะลอการฟ้องไว้ด้วย ซึ่งทำให้พนักงานอัยการใช้ดุลพินิจได้กว้างขวางมากกว่า (3) จากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่ากฎหมายไทยมิได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ถึงการใช้มาตรการชะลอฟ้อง จึงยังไม่มีบทบัญญัติเรื่องการชะลอฟ้องที่ใช้บังคับได้ (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะว่าควรแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการและมาตรการชะลอฟ้องให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้จริง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13504 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654001771.pdf | 948.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.