Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13514
Title: การบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 : ศึกษากรณีพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 17(2)  ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Enforcement of the Act on Administrative Fines, B.E. 2565: a case study of the act on the Maintenance of Cleanliness and Orderliness of the Country, B.E. 2535, Section 17(2) in Bangkok
Authors: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
ชุลีพร รักษายศ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด การกำหนดเพิ่มอัตราโทษ กรณีการกระทำความผิดซ้ำ และผู้มีอำนาจการเปรียบเทียบปรับ ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว (2) ศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด  การกำหนดเพิ่มอัตราโทษกรณีการกระทำความผิดซ้ำ และผู้มีอำนาจการเปรียบเทียบปรับ ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวของประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด การกำหนดเพิ่มอัตราโทษ กรณีการกระทำความผิดซ้ำ และผู้มีอำนาจการเปรียบเทียบปรับ ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ในเรื่องอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด การกำหนดเพิ่มอัตราโทษ กรณีการกระทำความผิดซ้ำ และผู้มีอำนาจการเปรียบเทียบปรับ ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารโดยอาศัยการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ พระราชบัญญัติ รวมทั้งเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหา เปรียบเทียบ สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด การกำหนดเพิ่มอัตราโทษกรณีการกระทำความผิดซ้ำ และผู้มีอำนาจการเปรียบเทียบปรับ ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว มุ่งเน้นให้การบังคับใช้กฎหมายมีความแน่นอน รวดเร็วและเสมอภาค (2) เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายพบว่า ประเทศไทย มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 เป็นกฎหมายกลาง ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว ส่วนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีรัฐบัญญัติแห่งสหพันธ์ว่าด้วยการกระทำผิดทางปกครอง เป็น “กฎหมายกลาง” เพื่อใช้ในการพิจารณาและกำหนดโทษสำหรับความผิดที่ไม่ร้ายแรง และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ไม่มีการตรากฎหมายกลางไว้เป็นการเฉพาะ แต่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนดค่าปรับเองได้ (3) เมื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายพบว่า ประเทศไทยสูญเสียอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด ไม่มีบัญชีฐานความผิดและอัตราโทษที่ใช้บังคับให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และถูกจำกัดตัวบุคคลผู้มีอำนาจการเปรียบเทียบปรับ (4) เสนอแก้ไขกฎหมายตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 โดยการเพิ่มตำแหน่งงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกระเบียบกรุงเทพมหานคร เรื่อง บัญชีฐานความผิดและอัตราโทษ และเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แก้ไขเพิ่มเติมตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13514
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654002159.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.