กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13527
ชื่อเรื่อง: การตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ : ศึกษากรณีมีคำสั่งไม่รับเรื่องกล่าวหาไว้พิจารณาและมีมติให้ข้อกล่าวหาไม่มีมูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Examination and balance of the exercise of power of the national anti-corruption commission: a case study of orders denying matters for consideration and resolutions declaring allegations baseless
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
ณัฐนรี นวลชื่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
การแจ้งความ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรภายนอกกรณีมีคำสั่งไม่รับเรื่องกล่าวหาไว้พิจารณาและมีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มูลขององค์กรอิสระในสาธารณรัฐสิงคโปร์ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และรัฐนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย เปรียบเทียบกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหามาตรการทางกฎหมายในการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรภายนอกกรณีมีคำสั่งไม่รับเรื่องกล่าวหาไว้พิจารณาและมีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และ (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีมีคำสั่งไม่รับเรื่องกล่าวหาไว้พิจารณาและมีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลโดยองค์กรภายนอกการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีวิจัยเอกสาร จากกฎหมาย รายงานวิจัย บทความและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจโดยองค์กรภายนอกผลการศึกษาพบว่า (1) หลักนิติรัฐ หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจ เป็นหลักการที่มีขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้องค์กรใดมีอำนาจมากเกินไป (2) องค์กรอิสระของสาธารณรัฐสิงคโปร์ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และรัฐนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย ต่างมีการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจกรณีมีคำสั่งไม่รับเรื่องกล่าวหาไว้พิจารณาและมีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลจากองค์กรภายนอก (3) ในการใช้อำนาจมีคำสั่งไม่รับเรื่องกล่าวหาไว้พิจารณาและมีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลโดยองค์กรภายนอก (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีมีคำสั่งไม่รับเรื่องกล่าวหาไว้พิจารณาและมีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มูลโดยคณะกรรมการพิจารณาการปฏิบัติงาน เพื่อให้การใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นไปตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจอย่างแท้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13527
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2654003835.pdf833.26 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น